การล้มในผู้สูงอายุ (FALL IN ELDERLY)
การล้มเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้สูงอายุ : โดยในผู้ที่อายุ 60 ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการล้ม 35% และอัตราเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ โดยการล้มจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก ไปจนกระทั่งการบาดเจ็บที่รุนแรง ข้อเคลื่อน กระดูกหัก เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง อาจเป็นเหตุให้เกิดความพิการและนำไปสู่การเสียชีวิต โดยการล้มในผู้สูงอายุเกิดจากการเสื่อมของระบบร่างกาย ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อลดลง, ความสามารถในการทรงตัว, การเคลื่อนไหวที่น้อยลง โดยเราสามารถลดอัตราความเสี่ยงในการล้มให้ผู้สูงอายุและเพิ่มความสามารถต่างๆได้ด้วยการออกกำลังกาย
ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ
- ปัจจัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจากการที่มีพยาธิสภาพจากอายุที่เพิ่มขึ้น
- ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การวางเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของเกะกะกีดขวางทางเดิน พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ การใช้ยานอนหลับ ยาต้านซึมเศร้า เป็นต้น
ผลกระทบของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
- ผลกระทบทางด้านร่างกาย : อาการฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก มีแผลฉีกขาด กระดูกหัก หรือสมองได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้
- ผลกระทบทางด้านจิตใจ : เกิดความกลัว วิตกกังวล ตลอดจนสูญเสียความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน บางรายรู้สึกอับอาย เสียใจ และรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระให้กับบุตรหลาน
แนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
- การส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การฝึกเดินที่ถูกต้อง การสวมรองเท้าที่เหมาะสม การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกำลังกล้ามเนื้อ ฝึกการทรงตัว
- การสร้างเสริมภาวะโภชนาการที่ดี การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรือเมื่อต้องใช้ยาควรที่จะปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น โครงเหล็ก 4 ขา (Walker) ไม้เท้า ฯลฯ
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การค่อยๆ ลุกยืนอย่างช้าๆ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็นหรือมากเกินไป หากได้รับยาหลายชนิดที่อาจส่งผลต่อการเดินควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น
– มีวัสดุกันลื่นในห้องน้ำ
– ไม่วางของระเกะระกะ
– มีแสงสว่างเพียงพอ
– เตียงนอน เก้าอี้ และโถส้วมมีความสูงพอเหมาะ ไม่เตี้ยเกินไป
สนใจจอง สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทาง inbox page
Line : @wq.wellness
Tel : 0970405069 , 0956416356
สถานที่ : ลาดพร้าว ซอย 1 แยก 7