โรคอ้วนในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุหากเผชิญกับโรคอ้วนเป็นเวลานาน อาจทำให้สุขภาพแย่ลง จนเสี่ยงต่อความพิการ หรือเสียชีวิตได้
สาเหตุการเกิด โรคอ้วน
สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ส่วนใหญ่มาจากการเสื่อมสภาพของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายตามช่วงอายุที่มากขึ้น รวมไปถึงค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เกินมาตรฐาน โดยวัดจากรอบเอว มวลไขมัน น้ำหนักตัว นอกจากนี้ คณะกรรมการของสมาคมโภชนาการและสมาคมโรคอ้วนของสหรัฐอเมริกา ได้ทบทวนงานศึกษาวิจัยที่เผยแพร่ในช่วงปี 1996-2005 และพบว่า โรคอ้วนในผู้สูงอายุเชื่อมโยงกับความบกพร่องทางร่างกาย อีกทั้งผู้สูงอายุที่น้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วนยังเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้มากขึ้นด้วย
-การติดเชื้อไวรัสโควิด-19
-ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
-ภาวะอ้วนลงพุง หรือเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome)
-โรคหลอดเลือดสมอง
-โรคหลอดเลือดหัวใจ
-โรคความดันโลหิตสูง
-ปัญหาภายในระบบทางเดินอาหาร
-โรคข้อเข่าเสื่อม
-โรคเบาหวาน
-โรคมะเร็งบางชนิด
**หากปล่อยให้ผู้สูงอายุเผชิญกับโรคอ้วนเป็นเวลานาน อาจทำให้สุขภาพแย่ลง จนเสี่ยงต่อความพิการ หรือเสียชีวิตได้**
ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนในผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในผู้สูงอายุ มีดังนี้
-การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-การรับประทานอาหารที่ทำลายสุขภาพ
-ปัญหาเกี่ยวกับโรคประจำตัว
-ประวัติทางพันธุกรรม
-โรคเบาหวานชนิดที่ 2
ผู้สูงอายุสามารถลดความเสี่ยงจากโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
-ออกกำลังกายในระดับเบา เช่น แอโรบิก เดิน
-รับประทานเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้เหมาะสม โดยเฉพาะผลไม้ ผัก และโปรตีน
-ลดอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง
-เข้ารับการตรวจสุขภาพตามที่คุณหมอกำหนด และตรวจสุขภาพอย่างละเอียด
รับประทานยาตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อรักษาโรคที่เป็น
-หลีกเลี่ยงอาหารเสริมหรือยาที่ช่วยลดความอ้วน เพราะผู้สูงอายุอาจได้รับผลข้างเคียงอันตรายที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือด และปอด