Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าวแนะนำดนตรีที่ช่วยบำบัดอาการซึมเศร้า

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

“ดนตรีบำบัด” ช่วยรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้หรือ?

หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นเพียงเรื่องของความบันเทิงเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว ดนตรี มีความมหัศจรรย์และประโยชน์มากกว่าที่คิด สำหรับคนธรรมดานั้นอาจฟังดนตรีเพียงเพื่อคลายเหงา หรือฟังเพลิน แต่สำหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าวมองว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามี“ดนตรี” เป็นเหมือนสิ่งที่บำบัดควบคู่กันกับยาต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคทางจิตใจให้ดีขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่รักษาค่อนข้างยากกว่าผู้ป่วยวัยอื่นๆ ให้มีความสุขขึ้นได้

องค์ประกอบของดนตรีที่ทำให้มีผลต่อการบำบัดโรค

จังหวะ (Rhythm)
หากเล่นในจังหวะ70-80 ครั้ง/นาที (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา

ระดับ (Pitch)
หากเล่นในจังหวะ70-80 ครั้ง/นาที (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา

ความดัง (Volume/ Intensity)
จากงานวิจัยพบว่า เสียงที่เบานุ่มจะทำให้เกิดความสงบสุขและสบายใจ ในขณะที่เสียงดังทำให้เกิดการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อได้

การประสานเสียง (Harmony)
เพราะเป็นการร้องร่วมร้องเพลงด้วยกันหลายคน ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการควบคุมตัวเองมักมีปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่างๆ จากบทเพลง ซึ่งช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกและทำการประเมินการรักษาได้ง่ายขึ้น

ทำนอง (Melody)
ทำนองของเพลงคือส่วนที่ทำให้บทเพลงนั้นเข้าถึงอารมณ์คนฟังได้ดีที่สุด การเปิดทำนองเพลงที่ผู้ป่วยชื่นชอบจึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ จนสุดท้ายช่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตลอดการรักษาได้เป็นอย่างดี

ดนตรี กับ การบรรเทาความซึมเศร้า

จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีการบำบัดชนิดนี้สามารถส่งผลในการรักษาโรคซึมเศร้า จากคำอ้างของการวิจัย การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดยิ่งมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นสำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้าเมื่อมีการนำมาใช้ร่วมกับการรักษาตามปกติ (เช่นยารักษาอาการซึมเศร้าและจิตบำบัด)

จากการศึกษากลุ่มขนาดเล็กที่มีการตีพิมพ์ลงใน Journal of Affective Disorders เมื่อปี 2015 ระบุไว้ว่าเมื่อมีการถูกนำมาใช้ร่วมกับการรักษารูปแบบอื่นๆ ดนตรีอาจช่วยลดความคิดหมกหมุ่นและความวิตกกังวลในคนที่มีภาวะโรคย้ำคิดย้ำทำ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*