Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าวชวนมาเช็คและห่างไกลจาก "ปอดอักเสบ"

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

“ปอดอักเสบ” เรื่องอันตรายต่อสุขภาพที่ควรรู้

ปอดอักเสบ หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “ปอดบวม” เป็นการอักเสบของเนื้อปอดซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ โดยเชื้อโรคที่เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ การรับเชื้อสามารถเกิดได้หลายวิธี เช่น การไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลัก การแพร่กระจายของเชื้อตามกระแสโลหิต เป็นต้น พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ในวัยเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าวเป็นห่วงผู้คนในวัยนี้อย่างมากเพราะถือเป็นผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ บางรายการติดเชื้ออาจรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

สาเหตุของปอดอักเสบ
เกิดได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่
– การติดเชื้อ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด การติดเชื้อชนิดใดขึ้นกับ กลุ่มอายุ อาชีพ โรคประจำตัว ภาวะภูมิคุ้มกัน ประวัติการเดินทางต่างประเทศ การสูบบุหรี่ และสภาพแวดล้อม
– ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้ นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด และยาที่ใช้ควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิด เป็นต้น

อาการของปอดอักเสบ
– มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น ระยะเฉียบพลัน
– ไอมีเสมหะ
– หายใจเร็ว หายใจหอบ เหนื่อย
– เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
– คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
– ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม ความรู้สึกสับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
– เด็กเล็กอาจมีอาการท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ
– อาการจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงปอดอักเสบ

-ฉีดวัคซีนป้องกันโรค แพทย์แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ วัยเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำหรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง การฉีดวัคซีนที่ให้ผลในการลดอัตราการเกิดโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Flu vaccine) และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine) สำหรับป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus pneumonia หรือที่เรียกกันว่าเชื้อนิวโมคอคคัส
– หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่มีมลภาวะเป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น เป็นต้น
– ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา
– ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ เป็นต้น
– เมื่อเป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรักษาแต่เนิ่นๆ
– การดูแลสุขอนามัยส่วนตัว เช่น หมั่นล้างมือเป็นประจำ ใช้ช้อนกลาง และการใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกบ้าน
– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*