Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าวห่วงอาการเพ้อที่อาจเกิดอันตราย

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

อาการเพ้อคืออะไร?

เป็นอาการผิดปกติ อาการเพ้อ (Delirium) หรืออีกชื่อคือ อาการสับสนเฉียบพลัน (Acute confusion) ลักษณะที่จำเพาะของอาการนี้คือ มีอาการสับ สนเป็นขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เป็นเพียงระยะเวลาไม่นาน เป็นบางช่วงเวลาเท่านั้นอาการเป็นๆ หายๆ มักเป็นช่วงพลบค่ำหรือช่วงกลางคืน

อาการเพ้อมีลักษณะสำคัญอย่างไร? แตกต่างจากโรคสมองเสื่อมอย่างไร?
อาการเพ้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อย และก่อให้เกิดความสับสนกับผู้ป่วยหรือญาติว่า เป็นอา การอะไรแน่ ระหว่างเพ้อหรือสับสนฉับพลัน กับอาการโรคสมองเสื่อม และญาติจะมีความกังวลใจว่า ผู้ป่วยเป็นอาการสมองเสื่อมหรือไม่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าวห่วงถ้ามีผู้สูงอายุในบ้านเกิดอาการเพ้อ ถ้าไม่รุนแรงเพียงแค่สับสน และผู้ดูแลสามารถให้การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ พูดคุย จัดการการให้นอนได้ และผู้ป่วยก็สงบ แบบนี้ก็ไม่จำเป็น ต้องพามาพบแพทย์ เพียงแค่จัดสภาพแวดล้อมและจัดกิจกรรมที่เหมาะสมก็พอ (เช่น ให้มีคนคอยดูแลพูดคุย ได้เดินเล่น ออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพ) โดยในการพบแพทย์ครั้งต่อไปตามนัด ก็แจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่าผู้ป่วยมีอาการเพ้อ และได้จัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไรไปบ้าง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเพ้อ สับสนอย่างรุนแรง โวยวายไม่นอนเลยต่อเนื่องหลายวัน หรือมีอา การแทรกซ้อน เช่น มีไข้ ปัสสาวะราด ไม่ค่อยรู้ตัวดี อย่างนี้ก็ควรพามาพบแพทย์ก่อนนัด หรือพามาโรงพยาบาล ที่แผนกฉุกเฉินได้เลย

อาการเพ้อส่งผลต่อโรคประจำตัวอย่างไร?

ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบ ต้องเข้านอนรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการเพ้อ ตรวจพบมีภาวะติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยน่าจะเกิดจากการสำลักอาหาร ทำให้เกิดภาวะปอดบวมขึ้น ระหว่างนอนรักษาในโรงพยาบาล ผู้ ป่วยมีอาการไข้สูงขึ้น มีอาการเพ้อมากขึ้น อาการดังกล่าวจะส่งผลต่อการรักษาโรคติดเชื้อในปอด เพราะผู้ป่วยจะไม่ให้ความร่วมมือในการทำกายภาพบำบัด ไม่ทานยา ไม่ทานอาหาร การควบคุมโรคต่างๆจึงทำได้ยาก จึงส่งผลให้การพยากรณ์โรคทุกโรคที่เป็นอยู่ไม่ดี และยิ่งถ้าผู้ป่วยต้องใช้ยารักษาอาการเพ้อร่วมด้วย โอกาสเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากยาต่างๆก็สูงขึ้น เนื่องจากมียาที่ต้องใช้รักษาอาการเพ้อเพิ่มเติมไปอีก จากที่มียาหลายชนิดอยู่แล้ว และยังเพิ่มโอกาสการตีกันของยา (Drug interaction, ปฏิกิริยาระหว่างยาที่ทานและยารักษาอาการเพ้อ) ให้สูงขึ้นไปอีกด้วย

ควรดูแลตนเองที่บ้านอย่างไร?
กรณีมีผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีอาการเพ้อการดูแล ประกอบด้วย

-การควบคุมหรือรักษาอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ และโรคประจำตัวให้ดี เช่น มีโรค เบาหวาน ก็ต้องควบคุมให้ดี
-ต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมให้มีระเบียบ และเป็นสภาพที่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุคุ้นเคยเป็นอย่างดี ไม่ควรปรับเปลี่ยนสถานที่อยู่บ่อยๆ ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ
-มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยครบ เช่น แว่นตา เครื่องช่วยการได้ยิน
-ผู้ดูแลควรเป็นคนเดิม ไม่ควรเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อยๆ
-อาหารก็ควรเป็นอาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย (อ่านเพิ่มเติมใน ประเภทอาหารทางการแพทย์)
-ต้องดูแลไม่ให้ผู้ป่วยท้องผูก หรือท้องเสีย เพราะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการเพ้อได้
-ระวังเรื่องการสำลักอาหาร เวลาให้อาหารผู้ป่วยจึงควรใช้เวลา ไม่รีบเร่งและให้ในท่านั่ง หรือ เอนตัวนั่งเสมอ เพื่อป้องกันการสำลัก
-การดื่มน้ำสะอาด ก็ต้องมีปริมาณที่เพียงพอ ถ้าน้อยเกินไปก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเพ้อได้ง่าย
-การดูแลเรื่องการขับถ่าย ก็ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ผ้าอ้อม และอุปกรณ์ (เช่น หม้อถ่ายปัสสาวะ) ให้สะอาด และอย่าให้ผู้ป่วยเกิดการแช่อยู่นานๆกับปัสสาวะหรืออุจจาระ เพราะส่งผลต่อสุขภาพกาย (เช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ) และสุขภาพจิตของผู้ป่วย จะกระตุ้นให้เกิดอาการเพ้อได้

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*