กินดี โรคเกาต์ไม่กำเริบ!
“อย่ากินไก่เยอะนะ เดี๋ยวเป็นเกาต์” คงได้ยินกันบ่อย ๆ สำหรับความห่วงใยของคนรอบข้าง จริงอยู่ เนื้อไก่ทำให้อาการเกาต์กำเริบมากขึ้น เพราะเนื้อไก่มีสารพิวรีนอยู่มาก (สารในอาหารซึ่งจะสลายเป็นกรดยูริค) แต่หากต้องงดทานคงจะน่าเศร้าใจอยู่ ซึ่งเราอาจเลือกทานเฉพาะเนื้อไก่ส่วนที่เป็นเนื้อแทนในส่วนที่เป็นข้อ และลดความถี่ในการทานก็ปลอดภัยแล้ว มาดูกันว่าอาหารประเภทไหนบ้างที่ควรงด หรือแค่ลดความถี่ ลดปริมาณลงก็พอ
- ลดอาหารที่มีปริมาณพิวรีน 75 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม
โดยแนะนำให้เลือกรับประทานได้ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื้อสัตว์รับประทานได้ 60-90 กรัมต่อครั้ง ผักในกลุ่มด้านล่างนี้รับประทาน ½ ถ้วยตวงต่อวัน ได้แก่
– เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลาแซลมอน กุ้งมังกร หอยนางรม แฮม
– ผัก เช่น ดอกกะหล่ำปลี เห็ด ผักโขม ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง
– ข้าวแป้ง เช่น ข้าวโอ๊ต ขนมปังหวานประเภทโรล บิสกิต วีตเจิร์ม (จมูกข้าวสาลี) - หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีน 75-150 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม
ควรเลือกรับประทานอาหารในกลุ่มนี้สัปดาห์ละครั้ง ได้แก่
– เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เบคอน ลิ้นวัว เป็ด ห่าน นกพิราบ ปลาไหล หอยต่าง ๆ ไข่นกกระทา
– ผัก เช่น ตำลึง สะตอ ใบขี้เหล็ก (ครั้งละ ½ ถ้วยตวง) - งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมาก คือ 150-1,000 มิลลิกรัมในอาหาร 100 กรัม
– เครื่องในสัตว์ทุกชนิด อาหารทะเลบางชนิด (ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน กุ้ง หอยเซลล์ กะปิ ไข่ปลา) น้ำสกัดหรือตุ๋นเนื้อ น้ำเกรวี น้ำปลา ซุป ซุปก้อน ยีสต์ ธัญพืช (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง) ผักบางชนิด (กระกิน ชะอม) - หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และน้ำตาล
– แม้เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จะมีพิวรีนไม่มาก แต่กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกายจะทำให้เกิดกรดยูริคได้ ดังนั้นควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลจากข้าวโพด จะไปเพิ่มกรดยูริคให้ร่างกายได้ด้วย
นอกจากการเลือกรับประทานอาหารแล้ว ผู้ป่วยควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหนักลงที่ข้อ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ หากมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเกาต์ หรือโรคกระดูกและข้อ