Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

อาหารโรคไตห้ามกิน เลี่ยงได้เลี่ยง!

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำเป็นจะต้องมีการควบคุมอาหารอย่างถูกต้อง การกินอาหารที่ดีจะช่วยให้ไตทำงานได้ดีขึ้น ไม่ต้องทำงานหนักอย่างกินการรสจัดหรือมีสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป โดยจะแบ่งตามประเภทของอาหารทั้ง 6 ประเภท ดังนี้

ผัก

หลายคนสงสัยว่า โรคไตห้ามกินผักอะไรบ้าง เพราะผักก็ดูจะเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกินเยอะ ๆ แต่ความเป็นจริงนั้นผักก็อาจก่อให้เกิดผลเสียกับไตได้เหมือนกัน ซึ่งผักที่ควรหลีกเลี่ยงคือผักที่มีโพแทสเซียมสูง และกรดออกซาลิกสูง

  • ผักที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผักในตระกูลกะหล่ำ (กะหล่ำปลีม่วง กระหล่ำดอก บรอกโคลี ฯลฯ) และผักตระกูลมะเขือ (มะเขือเปราะ มะเขือเทศ มะเขือพวง ฯลฯ) เพราะโพแทสเซียมในผักเหล่านี้ จะทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในเลือดของผู้ป่วยโรคไตมีค่าสูงตามไปด้วย แล้วทำให้เกิดอาการผิดปกติของการเต้นของหัวใจ รวมถึงทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วย
  • ผักที่มีกรดออกซาลิกในปริมาณสูง เช่น หัวไชเท้า แครอท กระเทียม ผักแพว ผักโขม ใบชะพลู ใบยอ ฯลฯ เพราะกรดออกซาลิกนี้จะทำให้เกิด

ผลไม้

ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า ฝรั่ง มะม่วง แคนตาลูป ลูกพลับ และมะปราง

อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์

อาหารเหล่านี้มีโซเดียมในปริมาณที่สูง เช่น ไส้กรอก หมูยอ เบคอน แฮม ไส้กรอกอีสาน ปลาร้า ปลาเค็ม กุ้งแห้ง หรือปลากระป๋อง

อาหารกระป๋องแปรรูป

เช่น ผลไม้กระป๋อง ผักกระป๋องเป็นอาหารอีกกลุ่มที่ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรบริโภคเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อกินอาหารเหล่านี้เข้าไป ร่างกายจะต้องรักษาสมดุลแร่ธาตุภายในร่างกายโดยการขับของเหลวออกมา ซึ่งในบางครั้งก็จะทำให้ร่างกายขับของเหลวออกมามากกว่าปกติ

ซอสปรุงรสต่าง ๆ

ทำให้ร่างกายต้องขับน้ำมากกว่าปกติเพื่อรักษาสมดุลแร่ธาตุในร่างกาย โดยซอสปรุงรสต่าง ๆ นี้รวมทั้งซอสในรูปของเหลวอย่างซอสหอยนางรม มายองเนส รวมไปถึงในรูปแบบของแข็งอย่างผงชูรส หรือซุปก้อนด้วย

อาหารอื่น ๆ ที่มีฟอสฟอรัสสูง

ธัญพืชอย่างถั่ว อัลมอลด์ ไข่แดง น้ำเต้าหู้

แนะนำอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรทาน

  • น้ำเปล่าสะอาด นับเป็นเครื่องดื่มที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคไต การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ จะทำให้ไตกรองของเสียได้ดีขึ้น ดังนั้น ควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับการปัสสาวะในแต่ละวัน และควรบวกเพิ่มไปอีกประมาณ 700 มิลลิลิตร
  • ผักที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง เช่น ถั่วงอก แตงร้าน แตงกวา ผักบุ้ง รวมถึงผักกะเฉด
  • ผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสซียมต่ำถึงปานกลาง เช่น มังคุด สับปะรด เงาะ ลองกอง ชมพู่ หรือลูกพีช

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*