โรคหูในผู้สูงอายุ
ผู้สูงวัยหรือผู้สูงอายุเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่เริ่มมีความเสื่อมถอยทางด้านร่างกายเกิดจากเส้นประสาทหู และเซลล์ขนในหูชั้นใน ( hair cell ) เสื่อมลง โดยจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่มักพบในผู้สูงวัย ปัญหาหนึ่งที่ถือว่าเป็นปัญหาทั้งคนรอบข้าง คือการที่ผู้สูงวัยมีความสามารถในการได้ยินเสียงที่แย่ลง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หูตึง” ซึ่งปัญหานี้จะค่อยๆมีระดับความรุนแรงแบบค่อยเป็นค่อยไป จนถึงระดับความรุนแรงที่ไม่สามารถรับรู้เสียงได้ เรียกว่า “หูหนวก” จนทำให้ลดประสิทธิภาพในการสื่อสารกับคนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว
ปัญหาของการได้ยินในผู้สูงวัย เกิดได้จาก
- ส่วนนำเสียงและขยายเสียง ได้แก่ หูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เมื่อคลื่นเสียงจากภายนอกผ่านเข้าไปในช่องหูจะไปกระทบเยื่อแก้วหู และมีการส่งต่อ และขยายเสียงโดยกระดูกหู 3 ชิ้นในหูชั้นกลาง ไปยังส่วนของหูชั้นในต่อไป ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง ทำให้เกิดภาวะหูอื้อได้ ความผิดปกติของ
– หูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน, เยื่อแก้วหูทะลุ, หูชั้นนอกอักเสบ, เนื้องอกของหูชั้นนอก
– หูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบ, น้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง, ท่อยูสเตเซียน (ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและหลังโพรงหจมูก) ทำงานผิดปกติ, โรคหินปูนในหูชั้นกลาง - ส่วนประสาทรับเสียง ได้แก่ ส่วนของหูชั้นในไปจนถึงสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่เรารับรู้และเข้าใจเสียงต่างๆ เมื่อเกิดความผิดปกติของบริเวณนี้ในผู้สูงวัย จะเกิดภาวะหูตึง หรือหูหนวกถาวรได้
– หูชั้นใน สาเหตุที่พบบ่อย คือ ประสาทหูเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น
ปัญหาการได้ยินในผู้สูงวัย เป็นปัญหาที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของโรคเรื้อรังต่างๆที่เกิดกับผู้สูงวัย โดยปกติแล้วการได้ยินจะค่อยๆเสื่อมตามวัย การได้ของผู้สูงอายุจะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป และเสื่อมเท่ากันทั้งสองข้าง
ผู้สูงวัยจะมาพบแพทย์เนื่องจากมีเสียงรบกวนในหู และมักมีปัญหาในการรับรู้เสียง ฟังไม่รู้เรื่อง หรือได้ยินเสียงแต่จับใจความไม่ได้
เมื่อไหร่ผู้สูงวัยควรตรวจการได้ยิน
- มักขอให้คู่สนทนาพูดซ้ำๆหลายครั้ง
- ดูโทรทัศน์เสียงดังกว่าปกติ
- ได้ยินไม่ชัด ไม่ครบทั้งประโยค
- มีเสียงดังในหู
- พูดเสียงดังกว่าปกติ
วิธีการวินิจฉัย ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ
- ซักประวัติเพื่อหาสาเหตุต่างๆที่เป็นไปได้
- การตรวจหูชั้นนอก ช่องหู แก้วหู หูชั้นกลาง และบริเวณรอบหู ตลอดจนการตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติของเคมีในเลือด
- การตรวจการได้ยิน เพื่อยืนยัน และประเมินระดับความรุนแรงของการได้ยิน
- การตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง
การรักษาปัญหาการได้ยินในผู้สูงวัยนั้น อย่างไรก็ตาม หากปัญหาการได้ยินที่เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นใน, เส้นประสาทหู, และระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัย มักจะรักษาไม่หายขาด ซึ่งหากมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอาจใส่เครื่องช่วยฟัง ( Hearing Aids ) ในกรณีหูตึงขั้นรุนแรง หรือหูหนวก อาจรักษาโดยการผ่าตัดผิวประสาทหูเทียม (Cochlear Implant)
ดังนั้น หากเพิ่งเริ่มมีอาการประสาทหูเสื่อมตามวัยควรดูแล และป้องกันไม่ให้มีความเสื่อมมากขึ้น โดยการหลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง และพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กระดับการได้ยิน อย่างสม่ำเสมอ