Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

5 สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ เพื่อการรับมือ

โรคลิ้นหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจรั่ว

โรคลิ้นหัวใจรั่ว เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต หลายคนมีอาการรุนแรงโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ดังนั้นแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุดคือการตรวจสุขภาพหัวใจอย่างสม่ำเสมอ

1. โรคลิ้นหัวใจรั่ว คืออะไร?

โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) เป็นอาการของความผิดปกติบริเวณลิ้นหัวใจในลักษณะที่ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท เกิดรูรั่วหรือรอยขาด ทำให้เกิดปัญหาเลือดไหลย้อนกลับ ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ ได้เต็มที่เพราะมักมีอาการเหนื่อยง่าย และยังนำไปสู่อาการหัวใจล้มเหลวได้ด้วย

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ้นหัวใจรั่ว มี 3 ประการสำคัญ

  1. สาเหตุจากพันธุกรรม อาจเป็นตั้งแต่เกิด หรืออาจมีอาการเมื่อโตขึ้น
  2. สาเหตุจากอาการแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ
  • ภาวะติดเชื้อ ตัวอย่างเช่น ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในลำคอหรือทางเดินหายใจ มักพบในเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเกิดปัญหาลิ้นหัวใจรั่วตามมา หลอดเลือดหัวใจตีบมักเป็นอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ผู้ที่สูบบุหรี่่จัด ผู้สูงอายุ หรือเกิดจากพันธุกรรม

3. สาเหตุจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ที่ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจ หรือเกิดหินปูนเกาะบริเวณลิ้นหัวใจ ทำให้การเปิดหรือปิดของลิ้นหัวใจผิดปกติ

3. ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว คือใครบ้าง?

  1. มีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว
  2. กลุ่มคนที่ติดเชื้อได้ง่าย เช่น เด็กอายุน้อยๆ ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  3. กลุ่มเสี่ยงกับภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบอันเนื่องมาจากอายุ มักพบในเพศชายที่อายุมากกว่า 40 ปี หรือเพศหญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี รวมทั้งผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรืออาจเกิดร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อย่างการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ และจากพันธุกรรม

4. ลักษณะอาการลิ้นหัวใจรั่ว

อาการของโรคนี้มักไม่รุนแรง แต่หากไม่ได้รับการตรวจพบหรือรักษาอย่างถูกต้อง อาการอาจลุกลามมากขึ้นจนถึงขั้นรุนแรง เนื่องจากลิ้นหัวใจเกิดความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้นด้วย ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยง่ายแม้เคลื่อนไหวไม่มาก บางรายอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตเนื่องจากเกิดอาการหัวใจล้มเหลว

5. การป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว

            การแสดงอาการของลิ้นหัวใจรั่วมักค่อยๆ แสดงอาการ ดังนั้นหากพบ อาการใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย เท้าบวม หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง แนะนำให้เข้าตรวจสุขภาพร่างกายทุกปี หมั่นดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัว และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดการกินหวาน มัน เค็ม

            เพราะสุขภาพคือเรื่องสำคัญ ดังนั้นอย่ารอให้เกิดอาการของโรค แต่ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพราะการพบความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ได้เร็ว ก็จะเกิดการป้องกันหรือการรักษาที่ไวขึ้น ดีกว่าไปพบอาการของโรคเมื่อเกิดการลุกลามและรุนแรงขึ้นแล้ว ซึ่งจะทำให้รักษายาก หรือเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*