Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ผู้สูงอายุกับโรคเวียนศีรษะ ให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ลาดพร้าวดูแล

โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุเป็นโรคยอดฮิตที่นำพาผู้สูงวัยมาพบแพทย์อยู่ตลอดเวลา บ่อยครั้งผู้สูงอายุมักบรรยายอาการของตนเองว่า ตนมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน รู้สึกมึน ๆ เหมือนจะหน้ามืด เป็นลม อยากอาเจียน พะอืดพะอม รู้สึกว่าการทรงตัวไม่มั่นคงเหมือนจะล้ม

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

อาการเวียนศีรษะมักจะแบ่งเป็น 2 แบบ

อาการเวียนศีรษะแบบฉับพลัน (Acute dizzness) ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นในเวลาน้อยกว่า 1 – 2 เดือน
อาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรัง (Chronic dizziness) ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นในเวลามากกว่า 1 – 2 เดือน
     อาการเวียนศีรษะเกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ ทั้งคนอายุน้อยไปจนถึงคนชรา แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ หากอาการเหล่านี้เกิดในผู้สูงวัย การฟื้นตัวจะค่อนข้างช้ากว่าคนหนุ่มสาว เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของความเสื่อมทางสรีรวิทยาและการมีโรคประจำตัวหลายชนิด ในที่นี้จะกล่าวถึงอาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรังเป็นหลัก

อาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรังในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหรือสภาวะผิดปกติทางร่างกายต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น

-เพิ่มโอกาสการหกล้ม
-การทำกิจวัตรประจำวันถูกจำกัดลงกว่าเดิม
-สัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตตกในท่ายืน
-โรคหลอดเลือดในสมองตีบ

หากอาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรังเป็นอยู่นานโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้ผู้สูงวัยเกิดอาการ “กลัวที่จะล้ม” เกิดภาวะซึมเศร้า และเริ่มประเมินตัวเองถึงความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ต่อมาจะเริ่มไม่อยากเข้าทำกิจกรรมกับคนอื่น ๆ ในสังคม ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะดังกล่าว ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ลาดพร้าวเราเข้าใจเรื่องของสรีรวิทยาตามปกติของผู้สูงอายุว่าปกติแล้วอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวและการรับรู้ของสมดุลในร่างกายต้องอาศัยทั้งตา หู ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกที่แข็งแรง แต่ในผู้สูงอายุนั้นระบบประสาทรับรู้ทั้งที่หู ตา กล้ามเนื้อและข้อจะเสื่อมลง ส่งผลให้เกิดอาการทรงตัวลำบาก รู้สึกวิงเวียนได้ง่าย จึงตองมีการดูแลเอาใจใส่เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

สาเหตุของโรควิงเวียนศีรษะในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง

-โรคทางระบบหู
-โรคทางระบบประสาทและสมอง
-ปัญหาของอวัยวะบริเวณลำคอของผู้สูงอายุ
-โรคความดันโลหิตตกในท่ายืน
-โรคความดันโลหิตตกหลังการรับประทานอาหาร
-โรคทางจิตเวช
-ผลข้างเคียงจากการใช้ยาประเภทต่าง ๆ
-โรคทางตา
-โรคอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ โรคซีด โรคเกลือแร่ ไขมันผิดปกติ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*