Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว พารู้จักอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว

โรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่มีความผิดปกติของอารมณ์เป็นหลัก มีอาการแสดงออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการแมเนีย (Mania) คือ อารมณ์ดี หรือคึกคัก สนุกสนาน และกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depress) จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

ลักษณะอาการ Bipolar Disorder โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว

กลุ่มอาการแมเนีย เป็นช่วงเวลาที่อารมณดี ครึกครื้น แสดงออกอย่างเต็มที่ พูดมาก พูดเร็ว พูดไม่ยอมหยุด ความคิด พรั่งพรู มีโครงการมากมายเป็นร้อยเป็นพันล้าน รู้สึกว่าตนเองเก่ง มีความสามารถมาก มีความสำคัญมาก ความมั่นใจในตนเองสูง เรี่ยวแรงเพิ่ม นอนน้อยกว่าปกติ บางรายนอนเพียงวันละ 1 – 2 ชั่วโมงเท่านั้น โดยไม่มีอาการอ่อนเพลีย สมาธิไม่ดี วอกแวก สนใจไปทุกสิ่งทุกอย่าง หุนหันพลันแล่น การตัดสินใจไม่เหมาะสม
กลุ่มอาการซึมเศร้า ในโรคไบโพลาร์เกิดขึ้นบ่อยกว่ากลุ่มอาการแมเนียเกือบ 3 เท่า โดยมีลักษณะเดียวกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คือ อาการเบื่อหน่าย ท้อแท้ มองทุกอย่างในแง่ลบ ความสนใจหรือเพลิดเพลินใจในสิ่งต่างๆ ลดลงอย่างมาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีกำลังใจ ความจำไม่ดี สมาธิลดลง นอนไม่หลับหรือนอนมากกว่าปกติ รู้สึกผิด รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไม่ดี เป็นภาระ รู้สึกไร้ค่า บางรายคิดอยากตาย ซึ่งมีไม่น้อยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย อาการเหล่านี้ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว มองว่าสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดขึนมากในวัยสูงอายุ

การรักษา

เนื่องจากโรคนี้เกิดจากการเสียสมดุลของสารสื่อนำประสาท ดังนั้น ยา จึงเป็นปัจจัยหลักของการรักษาที่ช่วยปรับระดับสารสื่อนำประสาทให้เข้าสู่สมดุล ปัจจุบันมียาอยู่หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพในการรักษา ยากลุ่มนี้ไม่ใช่ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ ไม่ทำให้ติดยาเมื่อใช้ในระยะยาว แต่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์ จึงเห็นผล
ยาที่ใช้รักษาโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ได้แก่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์ ยาต้านโรคจิต และยาต้านซึมเศร้า ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ที่รักษาผู้ป่วย
-ยาควบคุมอารมณ์
-ยาต้านโรคจิต
-ยาต้านซึมเศร้า

การดูแล

1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค
ญาติและคนใกล้ชิดต้องทำความเข้าใจกับโรคไบโพลาร์ให้เร็วและมากที่สุด โดยสามารถขอรับคำปรึกษาได้จากผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา หรือผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคนี้ รวมถึงค้นคว้าข้อมูลจากเว็บไซต์
2. สังเกตอาการเริ่มต้น
การสังเกตอาการเริ่มต้นก่อนอาการกำเริบ (Early Signs) โดยทั่วไปก่อนที่ผู้ป่วยกำเริบหนักมักมีสัญญาณเริ่มต้นให้สังเกต ดังนี้
• ขั้วแมเนีย คือ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ 2-3 วัน พูดมากขึ้น อารมณ์ครื้นเครงผิดปกติ หรือบางคนจะมีพฤติกรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
• ขั้วเศร้า คือ เศร้าผิดปกติ บ่นว่าตัวเองไร้ค่า รู้สึกอยากตาย เริ่มเขียนพินัยกรรมทิ้งไว้
3. เรียนรู้การรับมือพฤติกรรมก้าวร้าว เสี่ยงฆ่าตัวตาย
เทคนิคที่สำคัญที่สุด คือ การรับฟัง ต้องฟังให้เป็น คุยกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียง จังหวะ และคำพูดที่เหมาะสม อย่ากระตุ้นผู้ป่วยด้วยการโต้แย้ง ชวนทะเลาะ หรือท้าทายผู้ป่วย และจัดเก็บสิ่งของที่อาจนำมาใช้เป็นอาวุธให้มิดชิด รวมถึงเตรียมเบอร์ติดต่อฉุกเฉินต่างๆ ไว้ที่บ้านให้พร้อม
4. การรับประทานยา
ผู้ดูแลต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รู้จักสังเกตอาการข้างเคียงจากยาและวิธีแก้ไขเบื้องต้น แม้อาการข้างเคียงจากยาเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อมีอาการจะได้ไม่ตกใจและรู้วิธีแก้ไข
5. ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้ดูแล
การดูแลผู้ป่วยไบโพลาร์เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความอดทนและความเข้าใจอย่างมาก ผู้ดูแลต้องแบ่งเวลามาดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเองด้วย อาจหาคนมาช่วยสับเปลี่ยนดูแลเพื่อไปพักผ่อนเป็นระยะ รู้จักวิธีฝึกผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสม

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*