Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

โรคเบาหวาน ปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัยที่ต้องรีบรักษา

“เบาหวาน” เป็นโรคที่พบพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ”ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยโรคเบาหวานเป็นภาวะที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะการกินอาหาร การกินยาบางชนิด ขนมคบเคี้ยวต่างๆ เเละจากกรรมพันธุ์ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น แต่หากมีการดูแลหรือรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของ “โรคแทรกซ้อน”ต่าง ๆ ที่อาจแอบแฝงมาจนทำให้อันตรายถึงชีวิตได้

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็นกี่ชนิด

  • ชนิดที่ 1 เป็นภาวะที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงจำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้ยาอินซูลินเป็นหลัก
  • ชนิดที่ 2 พบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือช่วงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นเบาหวานมาก่อน หรือมีภาวะอ้วน เป็นต้น
  • ชนิดที่ 3 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่จะหายหลังจากคลอดบุตรไปแล้ว แต่อาจมีความเสี่ยงเป็นหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่ดูแลสุขภาพ หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

อาการของผู้สูงอายุเมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวาน

ต้องระวังอย่าให้อาการรุนแรง

  • ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน เนื่องจากไตไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินกลับคืนสู่เลือดได้หมด จึงปล่อยให้น้ำตาลออกมาพร้อมปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานปัสสาวะในปริมาณที่มาก
  • อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เซลล์ไม่สามารถเอาอินซูลินมาใช้เป็นพลังงานได้
  • ตาพร่ามัวมองเห็นภาพไม่ชัด เนื่องจากระดับน้ำตาลสูงเกินไปทำให้เบาหวานขึ้นตา และหากปล่อยไว้นานๆอาจเสี่ยงตาบอดได้
  • ชาบริเวณปลายมือ หรือปลายเท้า เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง จนส่งผลให้เส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทเสียหาย เส้นประสาทจึงไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
  • เป็นแผลง่ายแต่รักษาให้หายได้ยาก เนื่องจากภูมิต้านทานในร่างกายไม่ดี และระดับน้ำตาลที่สูง จึงส่งผลให้หลอดเลือดในส่วนปลายมือ ปลายเท้า มีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ

การรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมไม่ให้มีอาการรุนแรงได้ โดยแพทย์จะให้สารอินซูลินสังเคราะห์ ร่วมกับแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดจากการรับประทานอาหารและออกกำลังกายได้ แพทย์จะแนะนำให้กินยากระตุ้นตับอ่อนอินซูลิน และบางรายอาจเปลี่ยนวิธีเป็นการฉีดยา แต่จะขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือด และสภาวะการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย

การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ซึ่งผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ให้หันกลับมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงของหวาน ชา กาแฟ น้ำอัดลม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด รวมทั้ง ระวังไม่ให้เกิดภาวะติดเชื้อ และตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ ก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นได้

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*