Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ผู้สูงอายุนอนหลับไม่เพียงพอ
อาจส่งผลอันตรายกว่าที่คุณคิด

ผู้สูงอายุนอนหลับไม่เพียงพอ อาจส่งผลอันตรายกว่าที่คุณคิด

ผู้สูงอายุนอนหลับไม่เพียงพอ

ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนอนหลับออกมาได้น้อยลง จนทำให้เกิดอาการตื่นกลางดึก แต่หากผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขอนามัยในการนอนที่ดี ถึงแม้ว่าจะต้องตื่นกลางดึกก็สามารถกลับไปนอนหลับต่อได้ไม่ยาก จึงทำให้ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้มีจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่อย่าเพิ่งคิดว่าผู้สูงอายุนอนน้อยเป็นเรื่องปกติ หากผู้สูงอายุท่านใดก็ตาม มีอาการนอนไม่หลับ จนถึงขั้นทำให้เกิดอาการวิตกกังวล เกิดความกลัว ไม่สบายตัว ไม่สบายใจ กล้ามเนื้อตึงเกร็ง เกิดอาการเพลียระหว่างวัน และหากเกิดอาการเหล่านี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพได้ รวมถึงอาการนอนไม่หลับอาจเป็นการส่งสัญญาณจากร่างกายว่าผู้สูงอายุที่กำลังประสบปัญหานอนไม่หลับอยู่นั้น กำลังอยู่ในอาการเริ่มต้นของโรคบางโรคอีกด้วย

“นอนไม่หลับ นอนไม่พอ เสี่ยงโรคร้ายอะไรบ้าง”

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรามีร่างกายที่แข็งแรง เทียบเท่ากับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่เป็นเรื่องที่หลายคนมักมองข้ามและไม่ให้ความสำคัญ ดังนั้นหากนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อร่างกายมากมายทั้งเกิดความเครียด วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย มีกลิ่นตัวแรง และอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึง

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ

เมื่อนอนไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการ จะพบว่ามีโปรตีนเข้ามายึดเกาะบริเวณหลอดเลือดหัวใจมากผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันได้ โดยมีงานวิจัยที่ทำการเพื่อหาความเกี่ยวข้องกับการอดนอนและโรคหัวใจ โดยกลุ่มคนที่ทดลองไม่นอนหลับเป็นเวลา 88 ชม. มีผลออกมาว่าพวกเขามีความดันเลือดที่สูงมากผิดปกติ และพบอีกว่าในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 60 ปีจะมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากกว่าถึง 2 เท่า

  • โรคเบาหวาน

การอดนอนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ร่างกายต้องเร่งผลิตอินซูลินเพื่อปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ แต่หากนอนดึกหรือนอนไม่พอบ่อย ๆ อาจรบกวนการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคเบาหวานได้

  • โรคมะเร็งลำไส้

การนอนดึก นอนไม่พอ ทำให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติ ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ เกิดท้องอืดและท้องเฟ้อ เนื่องจากอาหารย่อยได้ไม่ดี และทำให้ระบบอุจจาระเองก็ผิดปกติไปอีกด้วย เกิดอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก นอกจากนี้ยังมีผลวิจัยในกลุ่มคน 1,240 คน ที่มีเพศและอายุแตกต่างกัน และพบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้มากกว่าคนที่นอนหลับอย่างน้อย 7 ชั่วโมงมากถึง 47%

สัญญาณของโรค จากอาการ “นอนไม่หลับ”

นอกจากอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุจะเป็นไปตามกลไกธรรมชาติของร่างกายแล้ว ในบางครั้งการที่คนแก่นอนไม่หลับอาจเป็นสัญญาณของโรคบางชนิดที่ส่งผลต่อการนอนหลับด้วย เช่น

  • โรคสมองเสื่อม
  • โรคซึมเศร้า
  • โรควิตกกังวล
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคหัวใจ
  • โรคถุงลมโป่งพอง
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคทางเดินหายใจอุดกลั้นขณะหลับ
  • กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS)
  • และอื่น ๆ
นอนไม่หลับ

การรักษาอาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถทำได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจวัตรก่อนเข้านอนและหลังเข้านอน เพื่อให้มีสุขภาพในการนอนหลับที่ดีขึ้น หรือการรักษาโรคในกลุ่มที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับให้มีอาการทุเลาลง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยทำให้การนอนหลับของผู้สูงอายุกลับมามีประสิทธิภาพมากขึ้น นอนหลับได้อย่างยาวนานมากขึ้น แต่ในกรณีที่รักษาที่ต้นเหตุของการไม่หลับแล้วไม่ได้ผล อาจต้องรักษาโดยใช้ยานอนหลับเป็นตัวช่วย เพราะการนอนไม่หลับเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามในการใช้ยานอนหลับอาจมีผลข้างเคียงตามมา ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรที่จะได้รับคำปรึกษาและใช้ยานอนหลับภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*