Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

5 วิธีดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุให้สดใสร่าเริงห่างไกลจากโรคซึมเศร้า

ดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

“5 วิธีดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ให้สดใสร่าเริง ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า”

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะโรคซึมเศร้ามีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ บางคนต้องอยู่คนเดียว บางคนต้องไปอยู่สถานพักฟื้นคนชรา หรือบางคนก็ต้องอยู่กับลูกหลานเด็กเล็ก สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสภาพอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจของผู้สูงอายุทั้งสิ้น

โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัยระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ก็ส่งผลให้มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายต่อสิ่งที่มากระทบจิตใจ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือคนที่ดูแลผู้สูงอายุ จึงต้องทำความเข้าใจ และรู้จักวิธีการปฏิบัติ เพื่อดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย

ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปัญหาความเครียด, ปัญหาด้านความวิตกกังวล, ความรู้สึกลูกหลานไม่รัก ไม่เคารพ, ความรู้สึกการถูกทอดทิ้ง และความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ยังส่งผลก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ด้วย หรือส่งผลอาการบางอย่างได้ เช่น การนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก หรือทำให้อารมณ์หงุดหงิดง่าย ไม่แจ่มใส เป็นต้น

“5 วิธีดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ”

สำหรับการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีอะไรที่ยากหรือซับซ้อน สิ่งสำคัญ คือ ต้องอาศัยความเข้าใจในภาวะอารมณ์ของผู้สูงอายุ ต้องมีความอดทนสูง และการยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของผู้สูงอายุ ที่บางครั้งอาจจะมีอารมณ์หรือพฤติกรรมเหมือนกับช่วงวัยเด็ก เช่น การดื้อรั้น อาการขี้น้อยใจ เป็นต้นผู้ที่ดูแลหรือบุคคลในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุจึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจหลักการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ

เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ขุ่นมัว ความรู้สึกเศร้า หรือเสียใจ การเลือกใช้บริการศูนย์จัดส่งผู้ดูแลที่บ้านหรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้านที่มีมาตรฐาน จัดส่งผู้ดูแลที่ได้รับการอบรม และมีประสบการณ์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีที่จะช่วยแบ่งเบาภาระนี้ของครอบครัว โดยแนวทางการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

ดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

1.ดูแลสภาพจิตใจภายใน

การดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ โดยควรให้ความรักและอบอุ่นผ่านการพูดและการกระทำอย่างสม่ำเสมอ ต้องพยายามสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้สูงอายุโดยการให้ความใกล้ชิดและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับเขา เช่น การให้เวลาในการพูดคุย การมอบเสียงหัวเราะ และการเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกัน เช่น การรับประทานอาหาร ท่องเที่ยว หรือการทำบุญ เพื่อเสริมสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุ

การระมัดระวังคำพูดและท่าทางก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ให้ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่สบายหรือรำคาญ ควรเสนอแนะและส่งเสริมให้เขารับรู้และเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และสามารถปรับตัวและยอมรับสถานการณ์ต่างๆ อย่างเช่นเรื่องความตาย และการควบคุมอารมณ์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

2.ส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ

การส่งเสริมความมีค่าและความสำคัญในตนเองของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากบางครั้งพวกเขาอาจรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า หรือเป็นภาระต่อครอบครัว ดังนั้น ควรให้โอกาสให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่ง่ายและเหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกของคุณค่าและความภูมิใจในตนเอง เช่น การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันหรืองานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ที่เข้าข่ายความสามารถของเขา

3.ส่งเสริมการเข้าสังคม

การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีโอกาสออกไปเข้าร่วมกิจกรรมสังคมจะช่วยลดความเหงาและเสริมสร้างความสุขให้กับพวกเขา โดยเฉพาะการเข้าร่วมกลุ่มที่สนุกสนานและเพลิดเพลิน เช่น การเล่นกีฬา ดนตรี หรืองานอดิเรกที่ชื่นชอบ เป็นต้น

4.การฝึกสมองและระบบความคิด

การฝึกสมองเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสมองและการคิดเช่นเดียวกับการลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยการเล่นเกมหรือกิจกรรมที่ฝึกความจำและการคิด เช่น หมากรุก อักษรไขว้ หรือการจดจำข้อมูล จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของสมองและรักษาสมองให้แข็งแรง

5.ดูแลร่างกายให้แข็งแรง

การดูแลร่างกายให้แข็งแรงสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพจิต เนื่องจากมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้สูงอายุอย่างมาก การออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีค่าและมีความสุขในชีวิตอย่างมาก และยังช่วยลดความเครียดและปัญหาการนอนไม่หลับอีกด้วย

การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ จำเป็นจะต้องอาศัยทั้งความเข้าใจ ความอดทน และการยอมรับ กับสภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุที่ไม่เหมือนเดิม จึงมีคำพูดว่าผู้สูงอายุ มีนิสัยเหมือนเด็ก ผู้ที่ดูแลและบุคคลในครอบครัวจึงต้องเข้าใจในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ เพื่อดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ให้แจ่มใส่ สุขภาพจิตดีอยู่เสมอ และลดปัญหาด้านอื่นๆ ที่อาจจะตามมาภายหลังได้

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*