Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ทำความรู้จักค่า BP คืออะไร ทำไมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตจึงต้องรู้!

ใครที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตหรือมีคนใกล้ชิดที่เป็นโรคนี้อยู่ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการทำความเข้าใจกับค่า BP นั่นเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับค่า BP ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร ใช้เพื่ออะไร ตามไปดูพร้อมกันได้เลยค่ะ

BP คืออะไร

BP ย่อมาจาก Blood Pressure หรือที่เรียกว่า ค่าความดันโลหิต เป็นค่าที่บ่งบอกความดันในหลอดเลือดแดง ที่เกิดจากการบีบและสูบฉีดเลือดบริเวณหัวใจเพื่อส่งเลือดให้ไหลไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งนี้การวัดค่าความดันโลหิตจะถูกแบ่งเป็น 2 ค่าด้วยกันดังต่อไปนี้

  1. ค่าความดันเลือดสูง ( Systolic Blood Pressure )

เป็นค่าที่อ่านได้ในขณะที่หัวใจเกิดการบีบตัว

  1. ค่าความดันเลือดต่ำ ( Diastolic Blood Pressure )

เป็นค่าที่อ่านได้ในขณะที่หัวใจเกิดการคลายตัว

วิธีการวัดความดัน

Senior woman measures pressure at home

หลายคนอาจเกิดคำถามตามมาว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ที่ความดันโลหิตของผู้ป่วยจะเริ่มเข้าภาวะสูงหรือต่ำจนเกินไป โดยปกติแล้วค่ามาตรฐาน BP คือ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอทจะถือว่าอยู่ในระดับปกติ แต่หากเกินจากนี้ก็จะถูกอ่านค่าสูงต่ำตามระดับต่อไป  หากความดันโลหิตค่าสูงเกิน 140 และความดันโลหิตต่ำเกิน 90 มิลลิเมตรปรอทควรเข้าพบแพทย์ทันที เพราะเริ่มเข้าข่ายภาวะความดันโลหิตสูงแล้ว หากตรวจสอบค่า BP แล้วมีค่าสูงกว่า 179 ขึ้นไป ค่าต่ำอ่านค่าได้สูงกว่า 109 ขึ้นไปควรรีบเข้าพบแพทย์ในทันที

ทั้งนี้ค่า BP คืออาจมีการเพิ่มลดได้ตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคล หากมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว ขี้โมโห อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ง่ายก็มีโอกาสที่ความดันจะพุ่งสูงได้เช่นกัน หรือเป็นเรื่องของอายุ ผู้ที่มีอายุมากส่วนใหญ่ความดันโลหิตจะเพิ่มลดได้ง่ายกว่าผู้ที่ยังมีอายุน้อยอยู่ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพฤติกรรมการทานอาหาร ใครที่ชอบทานรสจัดมักจะมีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงได้ง่ายกว่าปกติ เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยแสดงอาการมากนัก เรียกได้ว่าเป็นโรคภัยเงียบที่อาจมาเมื่อไหร่ก็ได้โดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว แต่มักจะเริ่มสังเกตได้เมื่อค่า BP เริ่มสูงผิดปกติเช่น ค่าความดันสูงอยู่ที่ 180 ค่าความดันต่ำอยู่ที่ 110 มิลิเมตรปรอท อาจก่อให้เกิดอาการใจสั่น มือสั่น หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อไหล่เป็นจำนวนมากผิดปกติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ อุดตัน แตก หรืออาจอันตรายถึงขั้นไตวายได้เช่นเดียวกัน

อาการของผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ

สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำไม่ได้ต่างจากความดันโลหิตสูงมากนัก เนื่องจากจะไม่ค่อยแสดงอาการเท่าไหร่นัก แต่หากค่าต่ำมาก ๆ ก็อาจมีอาการ ปวดศีรษะ ตาลายพร่ามัว มือเท้าเย็นผิดปกติ ร่างกายอ่อนแรง เพลีย สมองเริ่มประมวลผลช้า อาจมีภาวะแทรกซ้อนคืออาหารชักและหมดสติตามมาได้

จะเห็นได้ว่าหากเรามีความรู้เกี่ยวกับการอ่านค่า BP หรือค่าความดันโลหิตจะส่งผลดีต่อทั้งตัวเราและคนใกล้ชิด เมื่อมีอาการเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำหรือสูง เราก็จะสามารถประเมินอาการในเบื้องต้นได้ ซึ่งในปัจจุบันทุกคนสามารถซื้อเครื่องวัดโลหิตไว้ตรวจวัดค่าความดันเองได้ที่บ้านโดยไม่จำเป็นจะต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลเสมอไป หากพบค่าสูงต่ำที่ผิดปกติก็ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมในทันที เพื่อความปลอดภัยของตัวเราและคนที่เรารัก อย่าลืมใส่ใจสุขภาพ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*