Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์2

โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร

ภาวะสมองเสื่อม

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคทางสมองประเภทหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยจะมีอาการของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในสมอง นำไปสู่การสะสมของโปรตีนบางชนิด ซึ่งทำให้สมองหดตัวและเซลล์สมองตายในที่สุด โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะมีความจำ ความคิด พฤติกรรม และทักษะทางสังคมค่อยๆ ลดลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อความสามารถตามปกติของร่างกาย

สัญญาณเริ่มต้นของโรคนี้ ได้แก่ การลืมเหตุการณ์หรือบทสนทนาที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด เมื่อเวลาผ่านไป การดำเนินของโรคจะทำให้เกิดปัญหาความจำอย่างรุนแรง และสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน การใช้ยาอาจช่วยให้อาการดีขึ้นหรือชะลอโรคลงได้

โรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาได้ ในระยะสุดท้ายของโรค อาจเกิดการสูญเสียการทำงานของสมองอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ขาดสารอาหาร หรือติดเชื้อได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจทำให้เสียชีวิตในที่สุด

อาการของโรคโรคอัลไซเมอร์

สัญญาณเริ่มต้น

การสูญเสียความทรงจำเป็นอาการสำคัญของโรคอัลไซเมอร์ สัญญาณเริ่มต้น ได้แก่ มีปัญหาในการจดจำเหตุการณ์หรือการสนทนาล่าสุด เมื่อโรคดำเนินไป ความจำจะแย่ลงและพบอาการอื่น ๆ ตามมา

ในตอนแรก คนที่เป็นโรคนี้อาจรู้ตัวว่ามีปัญหาในการจดจำสิ่งต่างๆ และการคิดอย่างชัดเจน เมื่ออาการแย่ลง สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนอาจสังเกตเห็นปัญหาได้

การเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องต่อไปนี้:

ความทรงจำ

ทุกคนมีการหลงลืมในบางครั้ง แต่หากเป็นโรคอัลไซเมอร์ การสูญเสียความทรงจำจะมีอยู่ตลอดเวลาและอาการแย่ลง เมื่อเวลาผ่านไป การสูญเสียความทรงจำจะส่งผลต่อความสามารถในการทำงานทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน

ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์อาจ:

– พูดประโยคและคำถามซ้ำไปซ้ำมา

– ลืมการสนทนา การนัดหมาย หรือเหตุการณ์ต่างๆ

– วางของผิดที่ มักจะวางไว้ในที่ที่ไม่สมควรวาง

– หลงทางในสถานที่ที่เคยรู้จักดี

– ในที่สุดอาจลืมชื่อสมาชิกในครอบครัวและสิ่งของในชีวิตประจำวัน

– มีปัญหาในการค้นหาคำพูดที่เหมาะสม มีปัญหาการแสดงความคิด หรือการมีส่วนร่วมในบทสนทนา

การคิดและการใช้เหตุผล

โรคอัลไซเมอร์ทำให้เกิดความยากลำบากในการมีสมาธิและการคิด โดยเฉพาะในเรื่องตัวเลข การทำงานมากกว่าหนึ่งอย่างพร้อมกันจะเป็นเรื่องยากเป็นพิเศษ อาจเป็นเรื่องท้าทายในการจัดการการเงิน ตรวจสอบยอดคงเหลือ และชำระบิลให้ตรงเวลา ในที่สุด คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์อาจไม่สามารถจดจำและจัดการกับตัวเลขได้

การตัดสินใจ

โรคอัลไซเมอร์ทำให้ความสามารถในการตัดสินใจและวิจารณญาณในสถานการณ์ต่างๆ ลดลง ตัวอย่างเช่น สวมเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศ มีปัญหาการตอบสนองในชีวิตประจำวัน เช่น ไม่รู้วิธีจัดการกับอาหารไหม้บนเตา หรือตัดสินใจขณะขับรถ

การวางแผนและการทำกิจกรรมที่คุ้นเคย

กิจกรรมประจำวันที่ต้องทำเป็นลำดับขั้นตอนจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก ซึ่งอาจรวมถึงการวางแผนประกอบอาหารหรือเล่นเกมโปรด ในท้ายสุดแล้ว คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะลุกลามจะลืมการดูแลตัวเองในระดับพื้นฐาน เช่น การแต่งตัวและการอาบน้ำ

บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป

การเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกิดขึ้นในโรคอัลไซเมอร์อาจส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรม ปัญหาอาจรวมถึงสิ่งต่อไปนี้:

– ภาวะซึมเศร้า

– สูญเสียความสนใจในกิจกรรม ถอนตัวออกจากสังคม

– อารมณ์เเปรปรวน

– ความไม่ไว้วางใจในผู้อื่น

– โกรธหรือก้าวร้าว

– พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลงไป

– เดินหลงทาง

– หลงผิด เช่น เชื่อว่ามีของถูกขโมยไป

โรคอัลไซเมอร์1

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

ทำไมถึงเป็นโรคอัลไซเมอร์

สาเหตุที่แท้จริงของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด แต่ในเบื้องต้น พบว่าโปรตีนในสมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การทำงานของเซลล์สมองหรือที่เรียกว่าเซลล์ประสาทถูกรบกวน เกิดเซลล์ประสาทเสียหายและสูญเสียการเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน และในที่สุดเซลล์ประสาทก็ตาย

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสำหรับคนส่วนใหญ่ โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการผสมผสานระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรม วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสมองเมื่อเวลาผ่านไป มีน้อยกว่า 1% ที่โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจงที่จะสามารถทำนายได้ว่าจะเป็นโรคนี้ ในกรณีนี้มักพบว่าจะเริ่มแสดงอาการของโรคในวัยกลางคน ซึ่งเร็วกว่าปกติ

การดำเนินของโรคจะเริ่มเกิดขึ้นหลายปีก่อนที่จะเริ่มแสดงอาการ ความเสียหายส่วนใหญ่มักเริ่มขึ้นในบริเวณสมองที่ควบคุมในส่วนของความจำ การสูญเสียเซลล์ประสาทจะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของสมอง และในระยะท้ายของโรค สมองจะหดตัวลงอย่างมาก

การป้องกันโรคอัลไซเมอร์

วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ไม่ใช่ภาวะที่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม เราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงได้

มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้เช่นเดียวกัน

การปฏิบัติตัวต่อไปนี้ส่งเสริมสุขภาพดีต่อหัวใจ และอาจลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้:

– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

– กินอาหารที่ทำจากผักผลไม้สด กินน้ำมันที่มีประโยชน์ และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ เช่น อาหารเมดิเตอร์เรเนียน

– ปฏิบัติตามแนวทางการรักษาเพื่อจัดการกับภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน และคอเลสเตอรอลสูง

– งดการสูบบุหรี่

การศึกษาระยะยาวขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่งในฟินแลนด์พบว่า การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตช่วยลดความเสื่อมทางความคิดของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม โดยผู้ที่อยู่ในการศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหาร การออกกำลังกาย และกิจกรรมทางสังคม

อีกการศึกษาที่ทำในประเทศออสเตรเลีย ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมจะได้รับการสอนเกี่ยวกับอาหาร การออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอื่นๆ พวกเขามีผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นหลังจากเวลาผ่านไป 1, 2 และ 3 ปี เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับความรู้

การศึกษาอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งทางด้านจิตใจและสังคมนั้นเชื่อมโยงกับทักษะการคิด และลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งรวมถึงการไปงานสังคมต่างๆ การอ่านหนังสือ การเต้นรำ การเล่นบอร์ดเกม การสร้างงานศิลปะ เล่นเครื่องดนตรี และกิจกรรมอื่นๆ

วิตามินป้องกันโรคอัลไซเมอร์

กินวิตามินป้องกันได้หรือไม่

ร่างกายมนุษย์ต้องการวิตามินที่จำเป็น 13 ชนิดเพื่อการทำงานตามปกติ วิตามินแต่ละชนิดมีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ทั่วร่างกายของเรา รวมถึงสมองด้วย และเนื่องจากเป็นเรื่องปกติที่ร่างกายจะขาดสารอาหารเมื่อโรคสมองเสื่อมดำเนินไป สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือต้องดูแลโภชนาการให้ดีที่สุดหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม

ในบรรดาวิตามินที่จำเป็น 13 ชนิด การขาดวิตามินบี วิตามินดี และวิตามินซีอาจทำให้อาการสมองเสื่อมแย่ลงได้ ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับวิตามินเหล่านี้

นอกจากนี้ อาจพิจารณาสารอาหารเสริมที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ ดังนี้:

– โคเอนไซม์คิวเท็น (coenzyme Q10)

– กรดอัลฟ่าไลโปอิค (alpha lipoic acid)

– สารสกัดจากใบแปะก๊วย (ginkgo biloba)

– ฟอสฟาติดิลซีรีน (phosphatidylserine)

– โอเมก้า-3 (Omega-3’s)

– อะเซทิล-แอล-คาร์นิทีน (acetyl-L-carnitine)

นอกจากนี้ อาจกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด เช่น พลาสมาโลเจน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดจากหอยเชลล์ญี่ปุ่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสื่อสารของเซลล์ประสาทและป้องกันการอักเสบ จากการศึกษาพบว่าระดับพลาสมาโลเจนที่ลดลงนั้นสัมพันธ์กับการเสื่อมของระบบการรับรู้ เกิดความอ่อนล้าของสมอง และก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง และโรคซึมเศร้า เป็นต้น

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*