Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

“วิธีการทำความสะอาดร่างกายให้กับผู้ป่วยติดเตียงที่ถูกต้อง”

วิธีการทำความสะอาดร่างกายให้กับผู้ป่วยติดเตียงที่ถูกต้อง

การดูแลสุขอนามัยเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วย ดังนั้นผู้ดูแลจึงต้องหมั่นทำความสะอาดร่างกายให้กับผู้ป่วยเป็นประจำ ผู้ป่วยติดเตียงเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ แน่นอนว่าหน้าที่การอาบน้ำชำระล้างร่างกายของผู้ป่วยให้สะอาดจึงต้องตกเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลไปโดยปริยาย และเป็นเพราะผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก บางครั้งการทำความสะอาดร่างกายจึงต้องใช้การเช็ดตัวหรืออาบน้ำบนเตียงแทนการไปอาบน้ำที่ห้องน้ำ

ซึ่งในส่วนของการอาบน้ำและเช็ดตัวผู้ป่วยบนเตียง เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง สำหรับผู้ดูแลมือใหม่อาจมองว่าการทำความสะอาดร่างกายให้กับผู้ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องที่ยาก ที่สำคัญหากทำได้ไม่ดีอาจทำให้เบาะหรือเตียงของผู้ป่วยอับชื้นจนเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคแทนก็เป็นได้ วันนี้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว จึงอยากจะขอพาทุกคนมาเรียนรู้ขั้นตอนการทำความสะอาดร่างกายที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วยติดเตียง จะมีวิธีการและขั้นตอนอย่างไรบ้าง มาดูกัน

“เทคนิคการทำความสะอาดร่างกายให้กับผู้ป่วยติดเตียง”

  • เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยให้พร้อม เช่น น้ำ สบู่ ยาสระผมผ้าเช็ดตัว หรือแป้ง เป็นต้น ที่สำคัญควรมีผ้ายางรองเบาะเพื่อกันเบาะเปียกชื้น
  • ปรับเตียงผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมสำหรับการเช็ดตัวผู้ป่วย
  • ต้องแจ้งผู้ป่วยทุกครั้งก่อนการทำความสะอาดร่างกาย และปิดประตูและหน้าต่างให้มิดชิดก่อนเริ่มทำความสะอาดร่างกาย เพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย
  • ผู้ดูแลต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนทำความสะอาดร่างกายให้กับผู้ป่วย
  • ควรเริ่มจากการทำความสะอาดช่องปากให้กับผู้ป่วยติดเตียง โดยเลือกวิธีการทำความสะอาดช่องปากที่เหมาะสมกับสภาพอาการของผู้ป่วย
  • ก่อนเริ่มเช็ดตัวให้ผู้ป่วยควรเช็กก่อนว่าอุณหภูมิของน้ำเหมาะสมกับสภาพอากาศ หากผู้ป่วยอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ควรปิดเครื่องปรับอากาศหรือปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมก่อน
  • เริ่มเช็ดตัวโดยการใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดเช็ดทำความสะอาดให้ทั่วตัว
  • หลังจากนั้นนำผ้าถูกับสบู่จนเกิดฟองแล้วฟอกสบู่ให้ทั่วทุกซอกทุกมุม ทั้งบริเวณใบหู ลำคอ แขน ขา ลำตัว ข้อพับ และบริเวณอื่น ๆ และการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ควรทำหลังจากผู้ป่วยปัสสาวะหรืออุจจาระเสร็จ
  • เมื่อทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่แล้ว ให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำพอหมาด ๆ เช็ดคราบสบู่ออกให้หมดจด เพราะคราบสบู่ที่เหลืออาจสร้างความระคายเคืองให้กับผู้ป่วยได้
  • จากนั้นให้ใช้ผ้าขนหนูแห้งเช็ดตัวให้กับผู้ป่วย ต้องเช็ดทุกส่วนให้แห้ง ป้องกันการอับชื้นในร่มผ้า ซึ่งก่อนใส่เสื้อผ้าอาจทาแป้งเพื่อป้องกันความอับชื้นร่วมด้วย หรือหากผู้ป่วยผิวแห้งอาจต้องทาโลชั่นด้วยเช่นกัน
  • หลังจากเช็ดตัวเสร็จจึงค่อยสวมเสื้อผ้าสะอาดให้กับผู้ป่วย และควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยอึดอัดและเกิดความอับชื้นระหว่างวัน

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*