Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ดนตรีบำบัดลดภาวะซึมเศร้าใน

ผู้สูงอายุ

รักษาบำบัดอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย

ดนตรีบำบัดลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

รักษาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วยดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยรักษาภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาวะด้านจิตใจและสมอง มาเป็นเวลายาวนาน ถูกประยุกต์เพื่อใช้รักษาคนไข้ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุมา ช่วยบำบัดอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย ช่วยปรับปรุงรักษาสภาวะทางด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด ช่วยยกระดับประสิทธิภาพจิตใจของคนไข้ให้ดียิ่งขึ้น ในทางการแพทย์เชื่อกันว่าดนตรีเป็นสิ่งที่จะช่วยบำบัดรักษา บรรเทาอาการเจ็บป่วย วิตกกังวล ลดความตึงเครียด เป็นยาที่ไม่ต้องทานหรือฉีดก็สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้นได้ ถือเป็นยาวิเศษสำหรับคนไข้ที่มีภาวะซึมเศร้าหลายรายเลยทีเดียว

ประโยชน์ของดนตรีบำบัด ที่ใช้รักษาสารพัดโรคในผู้สูงอายุ

  • ช่วยจัดการความเครียดในผู้สูงอายุ โรคภัยไข้เจ็บ นอกจากจะทำให้ป่วยกายแล้วยังทำให้สภาพจิตใจแย่อีกด้วย เนื่องจากต้องคอยกังวลกับสิ่งต่างๆที่จะตามมาจากโรคที่เป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ การมีโรคหลายโรครุมเร้าจะยิ่งทำให้สภาพจิตใจยิ่งแย่ ดนตรีบำบัดเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยจัดการความเครียด ช่วยลดความวิตกกังวลในผู้สูงอายุได้
  • ช่วยกระตุ้นความจำ รักษาอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย ดนตรีช่วยให้สามารถรำลึกถึงและเชื่อมถึงความจำระยะยาวได้ บ่อยครั้งที่เราฟังเพลงแล้วเหมือนได้ย้อนกลับไปอยู่ในเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต อาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย เกิดจากอาการสมองเสื่อม ไม่สามารถจำสิ่งต่างๆในอดีตได้ ดนตรีบำบัดจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นความจำที่หายไปให้กลับมาอีกครั้ง
  • บรรเทาอาการเจ็บปวดทางด้านร่างกายและจิตใจ ทางด้านร่างกายดนตรี บำบัดช่วยให้ร่างกายถูกกระตุ้น จนอวัยวะต่างๆสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาการเจ็บป่วยทุเลาลง ส่วนทางด้านจิตใจรู้สึกผ่อนคลาย ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกเครียด ช่วยจัดการอาการวิตกกังวลได้ดี
  • ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ดนตรีบำบัดถูกนำมาใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ช่วยฟื้นฟูอาการเจ็บป่วย การดูแลหลังผ่าตัด ปวดหลังร้าวลงขากายภาพ บ่อยครั้งที่ดนตรีบำบัดถูกนำมาใช้ควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด กายภาพปวดหลัง เพราะสามารถกระตุ้นให้อวัยวะต่างๆตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น

ดนตรีบำบัดเป็นศาสตร์ในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจที่นิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน ในทางการแพทย์ดนตรีถือเป็นสิ่งที่สุดวิเศษที่ช่วยให้การรักษาอาการเจ็บป่วยดีขึ้นตามลำดับ หลายคนคงสงสัยแค่ดนตรีจะมีผลต่อการรักษาอาการเจ็บป่วยได้ขนาดไหนกัน ต้องบอกตรงนี้เลยว่าดนตรีเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์กว่าที่เราคิด

องค์ประกอบของดนตรีที่มีผลต่อการรักษาอาการซึมเศร้า อาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย

  • จังหวะดนตรี (Rhythm) หากจังหวะในบทเพลงนั้นๆเท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ คือ 70/80 ครั้งต่อนาที จะทำให้สมองเกิดการหลั่งสารแห่งความสุขอย่าง Endorphin ออกมา ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย อีกทั้งยังช่วยสร้างเสริมสมาธิอีกด้วย
  • ระดับ (Pitch) หากระดับของเพลงเล่นในจังหวะ 70/80 ครั้งต่อนาที เช่นเดียวกันกับอัตราการเต้นของหัวใจ จะทำให้สมองเกิดการหลั่งสารแห่งความสุขอย่าง Endorphin ออกมาเช่นเดียวกัน ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล
  • ความดัง (Volume) ระดับความดังที่เบาและนุ่มจะทำให้จิตใจเกิดความสงบสุข ในขณะที่ระดับความดังที่หนักแน่นจะช่วยในการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อ โดยความดังที่เหมาะสมจะทำให้ร่างกายสร้างระเบียบเพื่อควบคุมตนเองได้
  • ทำนองเพลง (Melody) ทำนองเพลงจะทำให้ร่างกายได้ระบายความรู้สึกส่วนลึก ภายใต้จิตใจ ช่วยให้เกิดความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ อีกทั้งยังช่วยลดความวิตกกังวลอีกด้วย
  • การประสานเสียง (Harmony) การประสานเสียงช่วยในการวัดระดับความรู้สึก จากปฏิกิริยาของการได้ฟังการประสานเสียง ทำให้แพทย์สามารถประเมินการรักษาได้ง่ายขึ้น

ขั้นตอนในการใช้ดนตรีบำบัดลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

ในทางการแพทย์ดนตรีบำบัดเป็นสิ่งที่สามารถรักษาเยียวยา ได้ทั้งความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจ โดยเป็นศาสตร์ที่นิยมใช้กันมาอย่างช้านาน โดยการใช้ดนตรีบำบัดจะมีความแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละคน โดยเบื้องต้นแล้วมีวิธีการดังนี้

  1. ประเมินอาการ ขั้นตอนแรกแพทย์หรือนักดนตรีบำบัดจะทำการประเมินอาการของคนไข้ก่อน อาจจะเป็นโรคประจำตัว เช่น โรคซึมเศร้า อาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย เป็นต้น รวมถึงดูการตอบสนองทางด้านร่างกาย ลักษณะการเจ็บป่วย ความคิดความอ่าน รสนิยมในการฟังเพลง เพื่อวางแผนออกแบบดนตรีบำบัดให้เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด
  2. เลือกกิจกรรม ในระหว่างการบำบัดคนไข้และผู้ทำการบำบัดรักษาจะร่วมกันเลือกกิจกรรมดนตรีบำบัดที่เหมาะสำหรับการรักษาที่สุด โดยมีกิจกรรมดังนี้ แต่งเพลง ร้องเพลง ฟังเพลง เคลื่อนไหวร่างกายตามเสียงเพลง พูดคุยเกี่ยวกับดนตรี เล่นเครื่องดนตรี โดยแต่ละกิจกรรมนอกจากคนไข้จะเลือกที่ชอบและถนัดทำให้เกิดความเพลิดเพลินแล้ว กิจกรรมข้างต้นล้วนแล้วแต่บำบัดรักษา และเยียวยาอาการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้นอีกด้วย
  3. ประเมินประสิทธิภาพการรักษา หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาแล้ว แพทย์หรือนักดนตรีบำบัดจะประเมินการรักษาเพื่อดูประสิทธิภาพว่าดนตรีจะสามารถบำบัดฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยของคนไข้ได้หรือไม่ เพื่อจะสรุปผลหรือวางแผนการรักษาต่อไป

เพื่อให้การใช้ดนตรีบำบัดลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยภาวะอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย ได้ผลดี ควรเลือกโรงพยาบาลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลที่รับดูแลผู้สูงอายุ ที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และเข้าใจ ในการดูแลผู้สูงอายุที่ภาวะทางอารมณ์และผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เพื่อชะลออาการและคงความสามารถเดิมของผู้ป่วยให้มากที่สุด

อย่างไรก็ตามการใช้ดนตรีบำบัดในการรักษาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน ก็ไม่สำคัญเท่าการที่ผู้สูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลานหรือคนในครอบครัว เพราะยารักษาโรคที่ไหนก็ไม่เท่าการได้รับความรัก ความอบอุ่นจากคนในครอบครัว

การเลือกศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงใกล้ฉัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในกรุงเทพ ในการรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า สามารถช่วยแบ่งเบาภาระ ลดความเครียดแก่คนในครอบครัวได้เป็นอย่างดี เพราะมีการให้คำปรึกษาตั้งแต่แผนการรักษา ประเมินอาการ ออกแบบโปรแกรมการรักษาให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งมีประสบการณ์ มีความเป็นมืออาชีพ ทำให้สามารถลดภาระของสมาชิกในครอบครัว

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*