Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

“อาการปวดหลังร้างลงขา” มีความเสี่ยง ดูแลและรักษาอย่างไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังร้างลงขาพร้อมวิธีป้องกัน และกายภาพบำบัด

สำหรับอาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งสาเหตุของอาการปวดหลังนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ กล้ามเนื้ออักเสบจากอุบัติเหตุหรือจากการใช้งาน การใช้งานในท่าทางซ้ำ ๆ การเสื่อมของกระดูกข้อต่อตามวัย เป็นต้น ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วอาการปวดหลังจะสามารถหายได้เองโดยใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่ถ้าหากอาการปวดหลังเป็น ๆ หาย ๆ รวมถึงมีอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมด้วย อาจจะเป็นสัญญาณเตือนสำหรับโรคทางกระดูกสันหลัง หากมีการปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้ดูแลรักษาอาจทำให้มีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว

ลักษณะของอาการปวดหลังร้าวลงขา

A Modern rehabilitation physiotherapy worker with senior client

อาการปวดหลังร้าวลงขานั้นจะมีลักษณะปวดหลังบริเวณเอวหรือสะโพกและร้าวลงมาปวดที่ขาข้างเดียว หรืออาจะปวดที่ขาทั้งสองข้างเลยก็ได้ ซึ่งจะเป็นการปวดอยู่ข้างในไม่มีจุดที่ชัดเจน รวมไปถึงอาจมีอาการชาบริเวณน่องและเท้า และขาอ่อนแรงร่วมด้วย โดยระยะแรกนั้นจะมีความสัมพันธ์กับท่าทางและการใช้งานต่าง ๆ เช่น จะมีอาการปวดเฉพาะนั่งนาน ๆ การยืนนาน ๆ หรือขับรถเวลานาน เป็นต้น ถ้าหากได้พักอาการจะดีขึ้น แต่ถ้ามีการกดทับที่มากขึ้น อาการปวดก็จะมากขึ้นตลอดเวลา ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่อาการเริ่มเป็นอุปสรรคต่อการเดิน มีอาการปวดรุนแรงมากในตอนกลางคืน กระดกข้อเท้าไม่ได้ ขาลีบเล็ก ลง มีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ต้องรีบพบแพทย์โดยทันที

เมื่อมีอาการปวดหลังร้าวลงขาแล้วควรปฏิบัติตัว ดังนี้

  1. หยุดทุกกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ ถ้าหากถือหรือยกสิ่งของให้วางลงทันที หลังจากนี้ให้ปรับตัวเองให้อยู่ในท่านั่งหรือท่านอนที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อลดอาการปวดหลังร้าวลงขา
  2. ลดอาการปวดหลังร้าวลงขาด้วยท่าบริหารกล้ามเนื้อหลัง แต่หากทำแล้วมีอาการปวดเพิ่มขึ้นให้หยุดทำในทันที
  3. หากมีอาการปวดหลังร้าวลงขาให้รีบดินทางมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกสันหลังทันที ไม่ควรปล่อยให้อาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น

สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา

มีสาเหตุอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา ซึ่งเป็นความเสี่ยงของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ดังนี้

  1. กระดูกสันหลังเสื่อม เมื่ออายุที่เพิ่มมากขึ้นกระดูกข้อต่อสันหลังก็เสื่อมไปตามอายุ จึงทำให้กระดูกเคลื่อนมาทับเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขา นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พบอาการปวดหลังร้าวลงขาได้ในผู้สูงอายุ
  2. กล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากการใช้งานกระดูกส่วนหลังไม่ถูกต้อง หรือเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จึงทำให้กล้ามเนื้อนั้นเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา
  3. หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดของเปลือกรองหมอนกระดูกสันหลัง และเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้น จึงทำให้กระดูกส่วนนี้ไปกดทับเส้นประสาทที่ออกมาบริเวณรูกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา โดยส่วนใหญ่จะพบได้จากกลุ่มวัยทำงาน

เกิดการกดทับของเส้นประสาทจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น กระดูกสันหลังงอก กระดูกสันหลังแตก หัก หรือติดเชื้อ เป็นต้น จึงทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาได้

วิธีการรักษาอาการปวดหลังร้าวลงขากายภาพ

หลังจากที่ทราบอาการและสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา ซึ่งมีวิธีในการรักษาด้วยกันหลายวิธี ได้แก่ การรับประทานยาแก้ปวด การฉีดยา การกายภาพบำบัด การผ่าตัด และการเลเซอร์ โดยแต่ละวิธีนั้นก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วยเช่นกัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถเริ่มต้นรักษาได้ด้วยตนเอง

  1. ปรับสภาพการใช้งานให้ถูกต้อง เช่น มีการเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 1 ชั่วโมงเพื่อลดการนั่งหรือการยืนที่นานจนเกินไป หลีกเลี่ยงการก้มเงย ยกของหนักเป็นประจำ เพื่อลดอาการปวดหลังร้าวลงขา
  2. การออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลัง และหน้าท้องให้แข็งแรง ก็จะช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาได้
  3. การฝึกยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเป็นลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง ช่วยลดการปวดหลังร้าวลงขา
  4. ทานยาแก้ปวด หรือกายภาพบำบัด เพื่อช่วยลดอาการปวดหลังร้าวลงขา ซึ่งวิธีนี้หากไม่ใช่อาการรุนแรง โดยส่วนใหญ่อาจทำให้หายจากอาการนี้ได้

สำหรับอาการปวดหลังร้าวลงขา ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนวัยไหนหรือเพศใดก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาได้เช่นกัน เพียงแค่การใช้ท่าทาง หรือการใช้งานนาน ๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการได้แล้ว ไม่รวมอาการที่อาจเกิดขึ้นโดยความเสื่อมสภาพของร่างกาย หรือเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ฉะนั้นแล้วการหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย

ทั้งนี้ หากใครที่มีอาการอยู่แล้วและต้องการรักษาอาการปวดหลังร้าวลงขากายภาพหรือต้องการผู้ดูแลหลังการผ่าตัดกระดูกและข้อ ลองปรึกษา เดอะซีเนียร์ โรงพยาบาลผู้สูงอายุ และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยต้องการฟื้นฟูหรือกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด หรือผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งมีการวางแผนการดูแลโดยบุคลากรที่มีความรู้ทั้งในส่วนแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด และมีประสบการณ์ที่มากกว่า 20 ปี ซึ่งจะช่วยดูแลให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*