Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

โรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันซึ่งเกิดจาการที่มีกรดยูริกสะสมมากกว่าปกติ แล้วตกตะกอนเป็นผลึกยูเรตสะสมตามข้อต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นประมาณร้อยละ 80 – 90 ของผู้ป่วย โรคเก๊าท์มักเป็นในเพศชายซึ่งส่วนใหญ่มีอาการครั้งแรกในช่วงอายุ 35 – 45 ปี ส่วนในเพศหญิงจะพบโรคเก๊าท์ในช่วงหลังจากที่ประจำเดือนหมดไปแล้ว

สาเหตุ

กรดยูริก เป็นสารชนิดหนึ่งในร่างกายที่สร้างขึ้นที่ตับ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของสารชนิดหนึ่ที่มีชื่อว่า “พิวรีน” สารนี้ในร่างกายได้มาจาก 2 แหล่ง คือ

1.อาหารที่รับประทาน เช่น เครื่องในสัตว์และเนื้อสัตว์ต่างๆ และผักบางชนิด

2.การสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย

กรดยูริกที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะถูกขับออกทางไต มีส่วนน้อยที่จะถูกขับออกทางลำไส้ ปกติแล้วคนทั่วไป จะมีกรดยูริกในเลือดระหว่าง 3 – 7 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ซึ่งถ้ามีระดับกรดยูริกในเลือดมากกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตรแสดงว่ามีกรดยูริกในเลือดสูง

อาการ

เริ่มมีข้ออักเสบเฉียบพลันโดยเฉพาะหลังตื่นนอนตอนเช้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อ ตำแหน่งที่พบได้บ่อย คือ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้าและข้อเข่า ถ้ามีการอักเสบรุนแรงมาก อาจทำให้ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวข้อนั้นๆ ได้

ข้ออักเสบในโรคเก๊าท์ ระยะแรกจะเป็นเพียง 1 – 2 ข้อ และการอักเสบของข้อส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 3 – 5 วัน มักไม่เกิน 1 – 2 สัปดาห์

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์นาน และได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง ผลึกของกรดยูริกจะสะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อเกิดเป็นก้อนขึ้นมาเรียกว่า “โทฟส” ซึ่งก้อนนี้จะค่อยๆทำลายข้อไปในที่สุด

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะกรดยูริกสูง

1.โรคเก๊าท์ ถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความพิการได้

2.นิ่วในทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในหลอดไต นิ่วในไต

3.ไตวาย

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีภาวะกรดยูริกสูงในเลือดไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นโรคเก๊าท์ทุกคน มีส่วนน้อยเท่านั้นที่จะเกิดอาการแทรกซ้อน

การรักษา ไปพบแทพย์เพื่อตรวจเลือดและรักษาโดยการรับประทานยา

การปฏิบัติตัว

1.ควบคุม หรือจำกัดอาหารประเภทที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ พวกเครื่องในสัตว์เนื้อสัตว์ และผักบางชนิด เช่น ชะอม กระถิน สะตอ เป็นต้น

2.งดดื่มเหล้า ไวน์ เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้มีการขับกรดยูริกออกได้น้อยลง

3.ควรดื่มน้ำมากๆ จะช่วยขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

4.ในรายที่อ้วนและน้ำหนักมากต้องลดน้ำหนักตัวลง

5.หลีกเลี่ยงการใช้ยากแอสไพริน และยาขับปัสสาวะ เพราะจะทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง

6.ออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน วิ่งเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการกระทบกระเทือนข้อ

7.ปรึกษาแทพย์ และมาพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ กินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

คำแนะนำอื่นๆ

1.อาหารที่มีปริมาณพิวรีนมาก ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรงดเว้นหรือหลีกเลี่ยง ได้แก่ ตับอ่อน หัวใจ ตับกึ๋นของไก่ เนื้อไก่ เป็น ห่าน มันสมองวัว ไข่ปลา ปลาอินทรีย์ ปลาดุก ปลาไส้ตัน กุ้งชีแฮ้ หอย ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง ชะอม กระถิน เห็ด กะปิ

2.อาหารที่มีปริมาณพิวรีนปานกลาง ผู้ป่วยโรคเก๊าท์รับประทานได้ปริมาณจำกัด ได้แก่ เนื้อหมู วัว ปลากะพง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม ดอกกระหล่ำ หน่อไม้

3.อาหารที่มีปริมาณพิวรีนน้อย ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทางได้ปกติ ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ข้าวโพด ผักและผลไม้ น้ำตาลและขนมหวาน ไขมัน จากพืชและสัตว์ ข้าวและขนมปัง เนยเหลว และเนยแข็ง

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*