Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

การดูแลสุขภาพก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การดูแลสุขภาพก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การดูแลสุขภาพก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากการดูแลเหล่านี้อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแย่ลงได้ ดังนี้:

  1. รับประทานยาตามคำสั่งการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด และสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากยาที่รับประทาน
  2. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น เช่น

   – ควบคุมความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ หากมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

   – ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหากมีโรคเบาหวานร่วมด้วย

   – หลีกเลี่ยงสูบบุหรี่ เนื่องจากผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 เท่า

   – ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

   – หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารมันๆหรืออาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง

การดูแลตัวก่อนการผ่าตัดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เริ่มต้นด้วยการสังเกตอาการและรายงานความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และรายงานความผิดปกติที่สัมพันธ์กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ดังนี้:

– อาการเจ็บหน้าอก: อาจมีอาการเจ็บลึกๆ บริเวณกลางหน้าอกเหมือนถูกรัดหรือกดหรือถูกบีบ อาจกระจายไปที่ไหล่ แขน โดยเฉพาะไหล่และแขนซ้ายด้านใน อาจร้าวไปบริเวณขากรรไกรหรือลิ้นปี่

– เหนื่อย: หายใจไม่อิ่ม

– เหงื่อออก

– ใจสั่น

– รู้สึกอ่อนแรง ไม่มีแรง

– ทำกิจกรรมประจำวันได้ลดลง

– มึน งง โดยเฉพาะขณะยืน

– นอนราบไม่ได้ ต้องนอนหมอนสูง

– หน้ามืด เป็นลม หรือหมดสติ

นอกจากอาการและความผิดปกติที่สัมพันธ์กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้ว แพทย์จะถามประวัติการรับประทานยาของท่านอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการดูแล ระหว่างผ่าตัดต่อไป โดยผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกันหลายชนิด เช่น ยาต้านเกร็ดเลือด, ยาละลายลิ่มเลือด, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ยากลุ่มไนเตรต และอื่นๆ ที่ช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้

ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น การตรวจหัวใจด้วยการวิ่งสายพานการตรวจคลื่นความถี่สูงหัวใจ (Echocardiography) หรือ การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ ก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดยาต้านเกร็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากยากลุ่มดังกล่าวเพิ่มโอกาสเสียเลือดจากการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ของการหยุดยาก่อนการผ่าตัด และให้คำแนะนำเป็นไปตามความเหมาะสมและความปลอดภัยของผู้ป่วยที่แตกต่างกันไป ดังนั้น คำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลควรถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยควรคำนึงถึงเสมอ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*