Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การดูแลสุขภาพก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน กลไกการเกิดมาจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจที่ตีบแคบอยู่ก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีใครบอกได้ว่าหลอดเลือดจะอุดตันเมื่อใด และกล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดตอนไหน แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกเป็นอาการเตือนที่สำคัญ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งพบได้บ่อยและต้องระมัดระวังอย่างมาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจหัวใจ นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ยังได้แก่ การสูบบุหรี่ และภาวะกรนรุนแรง หรือภาวะหยุดหายใจระหว่างหลับซึ่งมีหลักฐานชัดเจนแล้วว่าทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนเป็นผลให้หลอดเลือดเสื่อมเร็วและสามารถกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย

นอกจากผู้ป่วยด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันจากลิ่มเลือดแล้ว ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มที่ต้องระวังคือกลุ่มที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งลิ่มเลือดยังไม่อุดตัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการเฉพาะเมื่อหัวใจต้องทำงานหนักคือ ตอนที่ออกแรงและหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องอาศัยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงควบคู่ไปกับการใช้ยาซึ่งมักจะได้ผลดี หรือในกรณีที่เป็นมากอาจต้องพิจารณาการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือกรณีที่หลอดเลือดตีบหลายเส้น แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัด

ปัจจัยเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้ เช่น
    • เพศ จากข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมาพบว่าพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
    • อายุ พบผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในวัยกลางคนขึ้นไปถึงวัยสูงอายุ เพศชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และเพศหญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
    • พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเดียวกันป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมด้วย โดยเฉพาะคนในครอบครัวที่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ร่วมด้วย
  • ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้
    • โรคประจำตัวหรือโรคที่พบร่วมด้วย เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน เป็นต้น
    • พฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย ภาวะเครียดเรื้อรัง

อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

หัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่ปั้มเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและปั้มเลือดไปปอดเพื่อฟอกเลือด ในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจต้องได้รับสารอาหารและ oxygen จากหลอดเลือด coronary arteries ซึ่งมีอยู่ 3 เส้น ถ้าหากเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดการอุดตันด้วยลิ่มเลือดหรือตีบตันจากหลอดเลือดแข็งจนกล้ามเนื้อบริเวณนั้นขาดเลือดภายใน 20 นาที กล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะตาย กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน อาจพบอาการมากน้อยต่างกัน อาการที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจตีบมักจะมีอาการแน่นหน้าอก (Angina Pectoris) คล้ายมีของหนักทับหน้าอก มีอาการคล้ายมีอะไรมาบีบรัด เจ็บใต้กระดูกด้านซ้าย อาจเจ็บร้าวถึงขากรรไกรและแขนซ้าย อาการเจ็บมักจะสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย เช่น วิ่งตามรถเมล์ เดินขึ้นสะพานลอย ยกของหนัก ภาวะเครียดจัด อาการเจ็บมักไม่เกิน 15-30นาที อมยาแล้วหายปวด พักแล้วอาการเจ็บจะหาย มีอาการเจ็บไหล่ คอ ขากรรไกร หลัง มีอาการปวดท้องโดยเฉพาะจ็บหน้าอกร้าวมาบริเวณลิ้นปี่ หายใจติดขัด หายใจไม่ออก เหนื่อย เวียนศรีษะ หน้ามืดจะเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก

หากท่านมีอาการเจ็บหน้าอกและมีอาการดังกล่าวข้างต้นเป็นครั้งแรก ต้องรีบพบแพทย์ หรือท่านที่มีอาการเจ็บหน้าอกมานานและความรุนแรงไม่ได้เปลี่ยนแปลง อาจจะรับประทานยาเก่าต่อและรับคำปรึกษาจากแพทย์ ท่านที่มีอาการเจ็บหน้าอกอยู่ก่อนหากมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Unstable Angina

  • เจ็บครั้งนี้เจ็บมากกว่าครั้งก่อนๆ
  • เจ็บครั้งนี้นานกว่า 20 นาที
  • เจ็บครั้งนี้เกิดขณะพัก
  • เจ็บครั้งนี้อมยาแล้วไม่หายเจ็บ
  • เจ็บครั้งนี้เจ็บมากจนเหงื่อออก เป็นลม หรือหายใจหอบ

สำหรับผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยเบาหวานบางรายไม่มีอาการแน่นหน้าอก แต่มาด้วยอาการใจสั่น เป็นลม หรืออาการอื่นๆที่พบไม่บ่อย เช่น อาจะปวดจุกท้องบริเวณลิ้นปี่ หายใจไม่พอ หายใจสั้นๆ กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก

การป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่สำคัญคือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรค โดยเฉพาะการควบคุมและรักษาโรคที่พบร่วมต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ได้แก่ ดสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนจนเกินไป โดยการออกกำลังกายชนิดแอโรบิกเป็นประจำสม่ำเสมอครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ปลา ผัก และผลไม้ งดรับประทานอาหารที่มีรสมันจัด หรือมีคอเลสเตอรอลสูง และผ่อนคลายจิตใจเพื่อลดภาวะเครียด รับประทานยาโดยเคร่งครัด พกยาอมใต้ลิ้นเพื่อได้ใช้ทันที

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*