Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

อาการปวดทางร่างกาย

ร่างกายคนเราไม่ใช่จะคงทนถาวรตลอดไป เมื่อผ่านการทำงานหนัก ผ่านการใช้ชีวิต จนอายุมากขึ้น ร่างกายก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดในผู้สูงอายุแบบเรื้อรังได้ ในความเป็นจริงอาการปวดในผู้สูงอายุมักถูกมองข้ามและถูกละเลยอย่างที่ไม่ควรจะเป็น เนื่องจากความเข้าใจที่ว่าผู้สูงอายุจะต้องมีร่างกายที่เสื่อมโทรมตามวัย ความเจ็บปวดจึงกลายเป็นเรื่องปกติที่เป็นผลสืบเนื่องจากอายุที่มากขึ้น

แต่แท้จริงแล้วอาการปวดในผู้สูงอายุเกิดได้มากถึง 50% และส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดที่ควบคุมได้ไม่ดีทำให้เกิดความบกพร่องของการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทรมานจิตใจ เกิดอารมณ์แปรปรวน และการเปลี่ยนแปลงทางความคิด

การทำความเข้าใจประเภทของอาการปวดในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย ตลอดจนวิธีการตรวจหาและการรักษา สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุจัดการกับความเจ็บปวดและสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง

ประเภทของอาการปวดในผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละรายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สุขภาพโดยรวม พฤติกรรมการใช้ชีวิต และประวัติการเจ็บป่วยทางการแพทย์ อาการปวดในผู้สูงอายุที่พบบ่อย ได้แก่

  • โรคข้ออักเสบ: โรคข้ออักเสบเป็นภาวะทั่วไปที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุ ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ตึง และอักเสบในข้อต่อ เคลื่อนไหวได้ลำบาก ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ
  • อาการปวดตามเส้นประสาท: อาการปวดตามเส้นประสาทเกิดจากความเสียหายหรือการทำงานผิดปกติในระบบประสาท ส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ เช่น แสบร้อน รู้สึกเสียวซ่า หรือปวดกราด
  • อาการปวดหลัง ปวดขา: อาการปวดหลัง ปวดขาเป็นอาการปวดในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถยืนหรือเดินนาน ๆ ได้ ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การทำงานหนัก อยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน เกิดเปลี่ยนแปลงและเสื่อมในกระดูกสันหลัง โรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนล่างตีบแคบ กล้ามเนื้อตึง และโรคกระดูกพรุน
  • อาการปวดหัว: อาการปวดในผู้สูงอายุที่เกิดจากความตึงเครียด วิตกกังวลกับสิ่งต่างๆรอบตัว หรือเกิดในคนที่เป็นโรคไซนัส และอาการปวดหัวอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้ประจำ

การตรวจประเมินอาการปวดในผู้สูงอายุ

การตรวจหาอาการปวดในผู้สูงอายุถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะไวต่อความเจ็บปวดได้น้อย หมายถึงมีโอกาสน้อยที่จะรายงานความเจ็บปวดหรืออาจสื่อสารอาการของตนเองได้ลำบาก สัญญาณความเจ็บปวดที่ผู้ใกล้ชิดควรสังเกตในผู้สูงอายุ ได้แก่:

  • อารมณ์หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด ซึมเศร้า หรือถอนตัวจากสังคม
  • นอนหลับยากหรือความอยากอาหารน้อยลง
  • การเปลี่ยนแปลงในการใช้ร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวน้อยลง ไม่เข้าร่วมในกิจกรรมที่เคยชอบทำ
  • การเปล่งเสียง เช่น การบ่นคร่ำครวญหรือการถอนหายใจบ่อย

การออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดในผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและลดอาการปวดในผู้สูงอายุ เนื่องจากสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพิ่มความยืดหยุ่น และลดอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์ในการลดอาการปวดในผู้สูงอายุ ได้แก่:

  • การยืดกล้ามเนื้อ: การยืดกล้ามเนื้อเบาๆ สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความฝืดของข้อต่อและกล้ามเนื้อ
  • การฝึกเพิ่มความแข็งแรง: จะช่วยการสร้างมวลกล้ามเนื้อและเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งความแข็งแรงและความคงทนของร่างกาย
  • กิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่ำ: กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ หรือการขี่จักรยานสามารถช่วยให้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น และลดอาการปวดและการอักเสบโดยรวม

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*