Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

โรคปวดศีรษะ

โรคปวดศีรษะ เป็นโรคที่สำคัญและพบได้บ่อยซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยได้มาก โดยส่วนใหญ่แล้วโรคปวดศีรษะ ไม่ได้เกิดจากภาวะร้ายแรง แต่ทั้งนี้อาการปวดศีรษะจำเป็นต้องวินิจฉัยและรักษาโดยผู้เชื่ยวชาญเพราะอาการปวดศีรษะ อาจเป็นอาการนำของ โรคที่มีอันตรายร้ายแรงได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว

ผู้ป่วยมักปวดศีรษะจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. ปวดศีรษะแบบตึงตัว (tension type headache)
  2. ปวดศีรษะไมเกรน (migraine headache)
  3. ปวดศีรษะแบบกลุ่ม (cluster headache)
  4. ปวดศีรษะแบบเรื้อรังทุกวัน (chronic daily headache)

ปวดศีรษะแบบตึงตัว(tension type headache)

ปวดศีรษะแบบตึงตัว เป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดมักเกิดกับบุคคลซึ่งมีความเครียด เหนื่อย ทำงานหนัก ลักษณะการปวดมักเป็นแบบแน่นแน่น หรือ รัดรัดทั้งสองข้างของศีรษะและต้นคอ โดยอาการปวดมักมีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ซึ่งอาจมีการปวดของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ คอ ไหล่ ร่วมด้วยได้ อาการปวดชนิดนี้ไม่แย่ลงจากกิจวัตรประจำวัน และมักไม่มีอาการคลื่นใส้อาเจียนร่วมด้วย

ปวดศีรษะไมเกรน(migraine headache)

เป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อย และมักได้รับการวินิจฉัยที่ผิดพลาด โดยโรคปวดศีรษะไมเกรนนี้มักพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยทำงาน ลักษณะการปวดมักทำให้เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ซึ่งอาการปวดดังกล่าวจะแย่ลงได้จากสิ่งกระตุ้นภายนอก ทั้งแสง เสียง หรือกลิ่น ผู้ป่วยบางรายมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไมเกรนส่วนใหญ่มักจะปวดนานตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไป ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดนานถึง 3 วัน

ปวดศีรษะแบบกลุ่ม(cluster headache)

เป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้ไม่บ่อยแต่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานได้หากไม่ได้รักการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง อาการปวดศีรษะชนิดนี้มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยอาการปวดศีรษะมักมีอาการปวดที่รุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่าย มักเกิดทันที ระยะเวลาที่ปวดประมาณ 15 นาทีถึง 3 ชั่วโมง ตำแหน่งที่ปวดมักปวดรอบดวงตาหรือบริเวณขมับมักเป็นข้างเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการของระบบประสาท parasympathetic ร่วมด้วย เช่น มีตาแดง มีน้ำตาไหล มีน้ำมูก มีเหงื่อออก บริเวณใบหน้าด้านที่มีอาการปวดศีรษะ

ปวดศีรษะแบบเรื้อรังทุกวัน

(chronic daily headache)

ผู้ป่วยชนิดนี้มักมีอาการปวดศีรษะเรื้อรังมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะแบบ tension หรือแบบไมเกรนก็ได้ แต่ผู้ป่วยจะมีอาการเรื้อรังมากกว่า ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นโรคปวดศีรษะจากการใช้ยาเกิน(medication overuse headache) ซึ่งเกิดจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาด การซื้อยากินเอง การใช้ยาแก้ปวดบ่อยบ่อย ซึ่งทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังมากขึ้นเรื่อยเรื่อย นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้อีก เช่น ภาวะไซนัสอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง โรคมะเร็งเป็นต้น ทั้งนี้การวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมถึงการตรวจเพิ่มเติมเช่น การทำ MRI เป็นต้น เพื่อช่วยวินิฉัยแยกโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายออกไป

สัญญาณอันตรายของภาวะปวดศีรษะ

ถึงแม้อาการปวดศีรษะส่วนใหญ่ ไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง แต่อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยที่มีภาวะปวดศีรษะที่มีอาการดังต่อไปนี้ ควรมาพบแพทย์โดยเร่งด่วน เพราะอาจเกิดจากสาเหตุที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น อาจเกิดจากภาวะเลือดออกในสมอง หรือมีอาการติดเชื้อในระบบประสาทเป็นต้น สัญญาณอันตรายของภาวะปวดศีรษะมีดังต่อไปนี้

  1. อาการปวดศีรษะขึ้นรุนแรงทันทีทันใด
  2. อาการปวดศีรษะร่วมกับมีไข้และคอแข็ง
  3. อาการศีรษะร่วมกับอาการทางระบบประสาทมี่ผิดปรกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง สับสน บุคลิกภาพที่เปลื่ยนแปลง เป็นต้น
  4. อาการปวดศีรษะในผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV
  5. ภาวะปวดศีรษะที่เป็นมากขึ้นเรื่อยเรื่อยและไม่ตอบสนองต่อการรักษา

หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเร็วที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วต่อไป

สรุป อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย จำเป็นต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย อย่างละเอียดรวมถึงการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมในผู้ป่วยบางราย เพื่อนำมาสู่การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแม่นยำ นำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*