Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

โรคหลอดเลือดสมอง อันตรายที่ผู้สูงอายุควรระวัง

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร ?

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันหรือมีเลือดออกในสมอง หรืออาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้สมองตาย ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที การรักษาอย่างรีบด่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วยลดความรุนแรงจากภาวะสมองตาย และรวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และยังป้องกันความพิการและทุพพลภาพที่จะเกิดขึ้น

“ FAST ” สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดในสมอง
F – Facial palsy : อาการกล้ามเนื้อที่บริเวณหน้าอ่อนแรง หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ปากเบี้ยว
A – Arm : แขน ขา อ่อนแรง ซีกใดซีกหนึ่งตกไม่มีแรงหรือยกไม่ขึ้น
S – Speech : พูดไม่ชัด พูดจาติด ๆ ขัด ๆ
T – Time : หากมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ทันที

สัญญาณเตือนอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง รู้สึกเหนื่อยอย่างฉับพลัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา หรือมีการทรงตัวลำบาก หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

2 ประเภทของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้มีการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลง
  • หลอดเลือดสมองแตก (เลือดออกในสมอง) เกิดจากการแตกของหลอดเลือด

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke จะมีการฟื้นฟูที่ช้ากว่าวัยอื่น เพราะผู้สูงอายุจะมีสมรรถภาพร่างกายเสื่อมถอย เช่น มีการเคลื่อนไหวที่ลำบากและไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อจิตใจ อาจนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าตามมาภายหลังได้ ดังนั้นผู้ดูแลคือหัวใจสำคัญในการดูแล ฟื้นฟูผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในผู้สูงอายุ

  • ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือด
  • การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เพิ่มโอกาสของการเกิดหลอดเลือดสมองตีบมากขึ้น
  • การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก สามารถเกิดได้ทั้งโรคหลอดเลือดอุดตันและหลอดเลือดสมองแตกได้

ข้อคำแนะนำและการป้องกัน

  • งดอาหารรสเค็มและอาหารที่มีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายอยู่เสมอ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
  • ควรได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์เป็นประจำ
  • ปัจจุบันยังไม่มียาที่ช่วยให้โรคนี้หายเป็นปกติได้ ผู้ป่วยบางคนอาจฟื้นตัวเร็วและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ บางคนอาจฟื้นตัวช้าหรือพิการ การรักษาจึงขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเป็นหลัก โดยการกายภาพบำบัดหมั่นบริหารกล้ามเนื้อแขนขาเพื่อป้องการไม่ให้กล้ามเนื้อลีบ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*