Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

5 สิ่งที่ต้องระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

“5 สิ่งที่ต้องระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง”

5 สิ่งที่ต้องระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดเตียง มักจะเกิดปัญหาต่างๆที่พบบ่อย เช่น หากผู้ดูแลทราบภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย

ผู้ดูแลก็จะสามารถป้องกันสิ่งเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้นได้

  • สำลักอาหาร
  • แผลกดทับ (Pressure Sore)
  • ข้อติดและกล้ามเนื้อฝ่อลีบ (Muscle Atrophy)
  • ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
  • ภาวะสับสน (Delirium)

1.สำลักอาหาร

ผู้ป่วยติดเตียงมักจะมีปัญหาในการทานอาหาร เนื่องจากมีปัญหาในการกลืนหรือปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เวลาผู้ดูแลป้อนอาหาร ผู้ป่วยอาจจะสำลักได้ง่าย อาหารที่สำลักจะเข้าไปในทางเดินหายใจและเกิดภาวะปอดติดเชื้อตามมา ดังนั้นผู้ดูแลควรจะป้อนอาหารเมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง หากผู้ป่วยไม่สามารถนั่งทรงตัวเองได้ ผู้ดูแลต้องไขหัวเตียงผู้ป่วยขึ้น 60-90 องศา หรือหากเป็นเตียงนอนธรรมดา ผู้ดูแลต้องใช้หมอนหนุนให้ผู้ป่วยนั่งพิงหมอนเพื่อรับประทานอาหาร

2.แผลกดทับ (Pressure Sore)

ผู้ป่วยติดเตียงควรพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง เนื่องจากหากผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ผิวหนังบริเวณที่รับแรงกดจากน้ำหนักตัวจะเป็นแผลกดทับได้ ช่วงแรกจะสังเกตเห็นได้ว่าผิวหนังบริเวณนั้นจะเป็นรอยแดงช้ำ หากทิ้งไว้แผลจะลึกและกว้างขึ้น จนบางครั้งแผลลึกจนถึงกระดูกก็มี แผลอาจติดเชื้อและทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดตามมา เคยเจอเคสที่ผู้ดูแลลืมผลิกตะแคงตัวเพียงแค่ 3-4 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยเริ่มมีไข้ ทำให้ผู้ดูแลต้องพามาโรงพยาบาล ตรวจพบอีกทีแผลขนาดใหญ่เท่ากำปั้นแล้วก็มี และยิ่งผู้ป่วยติดเตียงมักจะมีปัญหาทางสมองร่วมด้วย ทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าเจ็บปวดตรงไหน ทำให้แผลลามไปเรื่อยๆหากผู้ดูแลไม่ได้สังเกต บริเวณที่มักพบแผลกดทับจะเป็นบริเวณที่รับน้ำหนักตัวเมื่ออยู่ในท่านอนเช่น

2.1 ก้บกบ

2.2 ส้นเท้า

2.3 ตาตุ่ม

2.4 ข้อศอก

ผู้ป่วยติดเตียง

3.ข้อติดและกล้ามเนื้อฝ่อลีบ (Muscle Atrophy)

ผู้ป่วยติดเตียงมักจะเคลื่อนไหวได้น้อย เมื่อร่างกายอยู่ในท่าเดิมนานๆจะทำให้ข้อติดไม่สามารถเหยียดข้อออกได้ ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะแก้ไขได้ยาก วิธีป้อนกันคือผู้ดูแลต้องทำกายภาพให้ทุกวัน เช้า-เย็น เป็นอย่างน้อย โดยข้อที่เน้นกายภาพมีดังต่อไปนี้

3.1 นิ้วมือและข้อมือ

3.2 ข้อศอก

3.3 หัวไหล่

3.4 ข้อสะโพก

3.5 เข่า

3.6 ข้อเท้า

4 ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)

เมื่อผู้ป่วยติดเตียงอยู่ในท่านอนเป็นส่วนใหญ่ ผู้ป่วยจะหายใจตื้นกว่าปกติทำให้ปอดไม่ขยาย และเกิดภาวะปอดแฟบและหอบเหนื่อยในเวลาต่อมา ดั้งนั้นผู้ดูแลควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะหายใจได้ลึกมากกว่าในท่านั่ง

5 ภาวะสับสน (Delirium)

ผู้ป่วยติดเตียงมักมีภาวะสมองเสื่อม หรือเคยเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ (stroke) มาก่อนทำให้สมองทำงานได้ไม่เท่าคนปกติ ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรม อารมณ์ ความคิด การนอนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น หงุดหงิดโมโหง่าย ก้าวร้าว บางคนอาจหลงลืม ถามเรื่องเดิมซ้ำๆ หรือมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม นอนไม่หลับ บางครั้งพูดคนเดียว มีหูแว่วภาพหลอน ผู้ดูแลต้องพยายามเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอาการทางสมองซึ่งตัวผู้ป่วยเองก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะแสดงออกอย่างนั้น วิธีรับมือคือ

5.1 พยายามอธิบายเท่าที่ทำได้ อย่าโต้เถียง ให้พยายามเข้าใจว่าเป็นจากโรคทางสมอง

5.2 จัดสถานที่ สิ่งของให้ผู้ป่วยคุ้นเคยเพื่อลดอาการสับสน

5.3 บอก วัน เวลา สถานที่ ให้ผู้ป่วยทราบทุกวัน อาจติดปฏิทิน และนาฬิกาที่มีตัวเลขขนาดใหญ่ชัดเจนไว้ในห้อง

5.4 ห้องผู้ป่วยควรมีหน้าต่างให้แสงส่องถึงได้ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่สับสนระหว่างกลางวันและกลางคืน

5.5 ลดตัวกระตุ้นในตอนกลางคืน เช่น เสียง หรือ แสงรบกวน อากาศไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป

5.6 กระตุ้นในผู้ป่วยตื่นในเวลากลางวัน หากผู้ป่วยนอนหลับช่วงกลางวันจะทำให้ผู้ป่วยไม่หลับเวลากลางคืน และสับสนกลางคืนได้

สุดท้ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียง อาจจะฟังดูยาก แต่หากผู้ดูแลเข้าใจผู้ป่วยและรู้วิธีการดูแลที่ถูกต้องก็จะสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาได้ และที่สำคัญที่สุดคือ เราจะมีโอกาสได้ดูแลท่านเหมือนที่ท่านเคยดูแลเรามาเมื่อครั้งเรายังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Asian senior female patient sleeping on bed in hospital

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*