Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

โรคหืด อาจเสียชีวิตได้ หากให้การรักษาไม่ทัน

Treatment during an asthma attack

พบคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหืดวันละ 8-9 ราย คิดเป็น 3,142 รายต่อปี คิดเป็น 3.42 ต่อประชากร 1 แสนคน  ซึ่งผู้ใหญ่จะเสียชีวิตมากกว่าเด็กประมาณ 5 เท่า โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ คือ ไม่ทราบว่าเป็นโรคหืด ไม่ได้พ่นยาป้องกันหอบต่อเนื่อง และเวลามีอาการกำเริบก็จะพ่นยาไม่ทัน/ไม่ถูกวิธี เนื่องจากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อมีอาการ

‘โรคหืด’ เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ และสามารถรักษาให้หายได้ แต่เป็นอันตรายต่อชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง โรคนี้เกิดจากภาวะหลอดลมอักเสบ และไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ ทั้งจากการสารก่อภูมิแพ้ การติดเชื้อ หรือมลพิษทางอากาศ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดเกร็ง ตีบแคบเป็นพักๆ ทำให้เกิดอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจลำบากตามมา อาการได้แก่ ไอเป็นชุดๆ แน่นหน้าอก หายใจหอบ เสียงดังวี้ด มักมีอาการหลังได้รับสิ่งกระตุ้น มลพิษทางอากาศ สารก่อภูมิแพ้ ติดเชื้อไวรัส หรือออกกำลังกาย

ปัจจัยแวดล้อมเกิดขึ้นได้ทั้งจากทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย หากครอบครัวมีประวัติหรือผู้ป่วยมีภาวะโรคพบร่วม อย่างภาวะนอนกรนจนอุดกั้นทางเดินหายใจ โรคอ้วน และอาการภูมิแพ้ รวมถึงสิ่งกระตุ้นให้อาการหอบกำเริบ เช่น ฝุ่นละอองในอากาศ PM 2.5 ฝุ่นละอองตามบ้านเรือน ควันบุหรี่ ขนสัตว์/สัตว์ เชื้อรา ละอองเกสรดอกไม้ สารเคมี เป็นต้น ล้วนเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหืดได้

“การรักษาผู้ป่วยโรคหืดไม่ใช่รักษาเฉพาะโรคหืดอย่างเดียว แต่จะรักษาโรคร่วม เช่น แพ้อากาศ ไซนัส ไอเรื้อรัง ภาวะนอนกรน กรดไหลย้อน ภาวะอ้วน ทำให้โรคหอบหืดคุมอาการยาก”

 ขณะที่ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหืดเป็นอาการเรื้อรัง รักษาไม่หาย ทำให้ขาดความสม่ำเสมอในการใช้ยา ที่ปกติคนไข้จะมียาติดตัว 2 ประเภท คือ

1.ยาควบคุม

เช่น ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นสูด ยาต้านลิวโคไตรอีน สำหรับใช้ระยะยาว ช่วยให้ลดหลอดลมอักเสบและหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้ลดอาการหอบกำเริบ และสมรรถภาพปอดดีขึ้น

2.ยาฉุกเฉิน

เช่น ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์เร็ว (short-acting or rapid action beta2- agonist) ใช้ในกรณีที่มีอาการหอบกำเริบ ช่วยขยายหลอดลม

แต่ในความเป็นจริง ‘โรคหืด’ สามารถรักษาหาย ยิ่งรักษาเร็วและต่อเนื่องยิ่งมีโอกาสหายสูง โดยในเด็กมีโอกาสหายมากกว่าร้อยละ 50 ส่วนผู้ใหญ่และผู้สูงวัยถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการรุนแรงกว่าเด็กและพ่นยาได้ยากกว่า เพราะบางคนชินกับอาการจนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหืด

ที่สำคัญการรักษาด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์สูดพ่นต้องสม่ำเสมอเป็นประจำไม่ว่าจะแสดงอาการหรือไม่แสดงก็ตาม และต้องสามารถปรับลด/เพิ่มขนาดของยาตามผลการรักษาโรคได้เหมือนโรคเรื้อรังทั่วไป เช่น เบาหวาน ความดัน ไม่แนะนำให้หยุดยารักษาโรคหืดด้วยตัวเอง เพราะจะทำให้อาการกำเริบได้  ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*