Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

แพ้ยา

เป็นปฏิกิริยาทางระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองผิดปกติต่อยาที่ได้รับ โดยยาที่พบว่าแพ้บ่อยได้แก่ ยาปฎิชีวนะ ยาแก้ปวด ยารักษาโรคข้อ ยากันชัก ยากลุ่มเคมีบำบัด เป็นต้น กลุ่มเสี่ยงต่อการแพ้ยาได้แก่ โรคภูมิแพ้ หรือคนที่ได้รับยาบ่อยๆ หรือเป็นเวลานาน

อาการของแพ้ยา เช่น

  • ผื่นลมพิษ นูน แดงคัน
  • หน้าบวม ตาบวม
  • มีไข้
  • มีอาการรุนแรงหลายระบบ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับมีผื่น หรือที่เราเรียกว่า Anaphylaxis

ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดอย่างรวดเร็ว ภายหลังได้รับยาไม่กี่ชั่วโมง แต่กรณีแพ้ยาบางชนิดอาจมีอาการหลายสัปดาห์ หลังได้รับยาก็ได้ ซึ่งพบได้น้อยกว่า เช่น ไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดง ลอก ตับอักเสบ หรือต่อมน้ำเหลืองโต โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นช้า หลายระบบของร่างกาย

Close up of female hands holding medication bottle and white pills over pastel blue background. Patient taking medication.

เมื่อไหร่ต้องไปปรึกษาแพทย์

  • กรณีมีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรงและมีอาการหลายระบบ หรือที่เราเรียกว่า Anaphylaxis เพื่อให้การรักษาภาวะนี้โดยเร่งด่วน และหาสาเหตุว่าแพ้อะไร
  • กรณีอาการไม่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้คำแนะนำในการใช้ยา
  • กรณีที่สงสัยว่าแพ้ยา ควรมีบัตรติดตัวไว้เสมอ และแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนรับยา และ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาตัวนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางภูมิแพ้ เพื่อทำการทดสอบแพ้ยา แล้วทำ desensitization หมายถึงการให้ยาทีละน้อยๆค่อยๆเพิ่มปริมาณ (วิธีนี้ทำกรณีจำเป็น ไม่สามารถใช้ยาตัวอื่นได้ และต้องทำภายในโรงพยาบาลเท่านั้น)

การวินิจฉัยแพ้ยา

  • ประวัติที่มีอาการเกิดขึ้นหลังทานยา หรืออาการเป็นซ้ำๆหลังได้รับยาเดิม
  • การทดสอบทางผิวหนัง หรือเจาะเลือด
  • การทดสอบโดยให้ผู้ป่วยรับยาที่สงสัยว่าแพ้ แล้วสังเกตอาการที่เกิดขึ้น หลังได้รับยา ซึ่งเรียกว่า Drug Challenge Test หรือ Drug Provocation Test ซึ่งวิธีนี้ควรทำในโรงพยาบาล ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้  ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*