Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย

5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย

รวมวิธีป้องกันและการรักษา

จากสถิติผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น เรื่องที่น่ากังวลตามมา คือ สุขภาพ เพราะเมืองไทยของเราตอนนี้กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกหลานมักจะต้องกังวลเรื่องสุขภาพผู้สูงอายุ ญาติผู้ใหญ่ในบ้านแน่นอน แต่ในวันนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะได้รู้ก่อนเตรียมตัวก่อน

ดังนั้นการเตรียมตัวที่ดี การรู้ก่อนรักษาเร็วมีโอกาสหายขาดและฟื้นฟูร่างกายได้ไวกว่าผู้ที่พบเจอในระยะหลัง ๆ   ฉะนั้นการตรวจสุขภาพปีละครั้งก็ยังคงเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้คุณและคนที่คุณรักปลอดภัยจากโรคเรื้อรังที่เราจะต้องพบเจอในช่วงสูงวัย และสำหรับใครที่กำลังวิตกกังวลเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ หรือเผชิญกับการรับมือ วันนี้เรามีวิธีป้องกัน วิธีดูแลและพร้อมแนะนำสถานที่ดูแลรักษาผู้สูงอายุ โรงพยาบาลผู้สูงอายุ ให้ได้คุณและคนที่คุณรักหมดกังวลพร้อมใช้ชีวิตในช่วงสูงวัยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

รู้ก่อนปลอดภัยกว่า 5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย

5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย1

จากการรายงานสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลผู้สูงอายุในระบบ Health Data Center โรคเรื้อรังที่ผู้สูงอายุเป็นมากที่สุดอันดับ 1 คือ โรคความดันโลหิตสูง รองลงมาอันดับ 2 คือ โรคเบาหวาน และอันดับที่ 3 โรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งโรคเรื้อรังอย่างเบาหวานอาจจะมาจากพฤติกรรมส่วนตัว หรือพันธุกรรมก็ได้เช่นกัน ซึ่งโรคเหล่านี้อาจจะนำพามาสู่โรคแทรกซ้อนได้ ดังนั้นการตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยทุก 6 -12 เดือน ควบคู่กับการทานอาหารที่ดี พักผ่อนเพียงพอก็จะช่วยชะลอไม่ให้โรคร้ายเหล่านี้มารุมเร้าในช่วงสูงวัยได้อย่างแน่นอน เรามาดูกันดีกว่าว่า 5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง วิธีสังเกตอาการ และวิธีป้องกันที่ถูกต้อง ต้องทำอย่างไร

  • โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง อาจจะฟังดูคุ้นเคยมาก ๆ เพราะ ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่เสี่ยง วัยทำงานก็สามารถเป็นได้ และที่ร้ายแรงไปกว่านั้นคือ โรคความดันโลหิตสูงเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย ที่โรคนี้ขึ้นชื่อเป็นโรคร้ายแรงอันดับต้น ๆ เพราะเราไม่สามารถรับรู้ได้เลย เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ จนมาตรวจพบตอนสูงอายุ แต่อย่างไรก็ตามทุกเพศทุกวัยก็สามารถมีความเสี่ยงได้เช่นกัน

วิธีหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาก่อนที่จะสายเกินไป คือ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม นมเนย แอลกอฮอล์ และเริ่มออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่มีระดับความดันโลหิต เกิน 140/90 มม. ปรอท จะต้องใช้ยาลดความดันโลหิต และอยู่ในการดูแลของแพทย์ ตรวจเช็กทุก ๆ 3-6 เดือน

  • โรคเบาหวาน

ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่ครองแชมป์ผู้สูงอายุในไทยเป็นมากที่สุด มีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวานหลายอย่างที่ทำให้คุณใช้ชีวิตแบบผิด ๆ เช่น เบาหวานเป็นโรคของคนแก่ แท้จริงแล้วโรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่อายุต่ำกว่า 45 ปีเข้ารับการรักษาโรคเบาหวาน  ปัจจุบันลูกหลานยุคใหม่ส่วนใหญ่มีภาระหน้าที่และภารกิจที่ยุ่งตลอดทั้งวัน จึงมักจะเลือกวิธีการรักษาผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน

  • โรคอัลไซเมอร์

โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากเซลล์สมองตายหรือเสื่อมสภาพการใช้งาน จึงทำให้การทำงานของสมองเสื่อมประสิทธิภาพลง มีอาการหลงลืม ถึงขั้นหายออกไปจากบ้านและกลับไม่ถูกก็มี

โรคอัลไซเมอร์แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ซึ่งอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย จะเริ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ มีอารมณ์แปรปรวน ขี้หงุดหงิด บางครั้งอาจจะลืมชื่อตัวเองและสมาชิกในครอบครัว  ซึ่งอีกหนึ่งวิธีและสถานที่รักษาที่ดี คือ ให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าวเป็นผู้ดูแลให้อย่างใกล้ชิด จัดกิจกรรมโปรแกรมการรักษาที่ออกแบบเฉพาะรายช่วยบำบัดฟื้นฟูคนไข้ที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยมีการฝึกเคลื่อนไหวของร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการจัดการอารมณ์ ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เสริมประสิทธิภาพการบำบัดผ่านระบบกลุ่ม และดูแลเรื่องโภชนาการ ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ  เพราะที่เดอะซีเนียร์ มีทั้งนักโภชนาการ และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์  คุณเองก็สามารถเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 (ไข่แดง ปลา) วิตามินบี 6 (เนื้อสัตว์ ข้าวโพด กล้วย) วิตามินบี 12 (นม เนื้อสัตว์ ไขมันต่ำ) วิตามินซี (กีวี ฝรั่ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ) และวิตามินอี  (อัลมอนด์ ผักโขม ธาตุเหล็ก) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนและบำรุงการทำงานของสมอง ชะลอความเสื่อมสภาพได้ดีเลยทีเดียว

  • โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

จากการกินไขมันสะสมที่เป็นเวลามานาน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดก็เสื่อมลงตามอายุ เมื่อไขมันอุดตันในเส้นเลือดมากขึ้นเลือดก็หมุนเวียนได้ยากขึ้นเช่นกัน โรคนี้มักจะเป็นโรคแพ็กเกจพ่วงมากับ โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เสี่ยงถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้  วิธีป้องกัน คือลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ลดอาหารเค็ม รับประผักผลไม้ การรักษาทางการแพทย์ก็อิงควบคู่ไปกับโรคความดันหรือโรคเบาหวานที่กำลังรักษาอยู่ และหากถึงขั้นรุนแรงมากอาจจะต้องให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด

  • โรคไตเรื้อรัง

อีกหนึ่งโรคภัยเงียบที่มักจะไม่แสดงอาการ ไตที่เป็นอวัยวะหลักในการดำรงชีวิตอยู่เพราะ หน้าที่ของมันคือการคัดกรองของเสียให้ออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำแต่สิ่งดี ๆ เข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เมื่อไตทำงานหนักทำหน้าคัดกรองไม่ไหว ก็จะส่งผลต่อ ๆ ไปอีกกว่า 500 จุดในร่างกาย ที่ไตต้องส่งไปหล่อเลี้ยง อาจจะถึงภาวะไตวาย ระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้มเหลว  วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ควรเข้ารับการคัดกรองไตอย่างน้อยปีละครั้ง ดื่มน้ำให้ครบวันละ 8-10 แก้ว หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ และการทานยากลุ่มยาแก้ปวด แก้อักเสบติดต่อกันนาน ๆ ก็ทำให้ไตของคุณนั้นทำงานหนักได้เช่นกัน

  • โรคทางกระดูก

อีก 1 โรคที่ควรระวังและสามารถเสี่ยงเป็นได้ตั้งแต่อายุยังน้อย คือ ‘โรคทางกระดูก’ ซึ่งแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก 2 โรค คือ

  1. โรคข้อเข่าเสื่อม

มักพบเจอในตามผู้สูงอายุบ่อย ๆ รวมถึงวัยรุ่นในปัจจุบันก็สามารถเป็นได้เช่นกัน สาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากการใช้เข่านาน ๆ การรับน้ำหนักตัว เพราะ ข้อเข่า ก็คือข้อต่ออย่างหนึ่งของกระดูกเช่นกัน หากมีการใช้งานหนักเป็นเวลานาน ๆ รวมไปถึงการรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมเรื้อรัง ซึ่งข้อเข่าเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพแล้วไม่สามารถกลับมาสมบูรณ์แบบได้ดั่งเดิม มีแต่จะยิ่งอาการทรุดลงเรื่อย ๆ  วิธีบรรเทาอาการ คือ เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันหรือการออกกำลังกาย ที่อาจจะส่งผลกระทบกับเข่าโดยตรง การทำกายภาพบำบัด กายภาพปวดหลังกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและใกล้ผู้เชี่ยวชาญ และทางเลือกสุดท้ายอาจจะต้องทำการรักษาทางชีวภาพ เช่นการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนเข่า ซึ่งฟังแนวดูน่ากังวล แต่ในทางการแพทย์ปัจจุบัน มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ กรุงเทพ มากมายที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่เจ็บตัวไม่พักฟื้นนาน แถมการดูแลหลังผ่าตัด ก็มีพยาบาลผู้เชี่ยวชาญดูแลใกล้ชิด

  1. โรคกระดูกพรุน

สาเหตุสำคัญคือ ฮอร์โมนโดยเฉพาะ ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองมักจะเริ่มมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน แต่สาเหตุปัจจัยไม่ได้มาจากฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเกิดการสะสมในเรื่องของการขาดแคลเซียมเป็นเวลานาน ทำให้กระดูกเปราะบางหักง่ายได้มากขึ้น ” การสังเกตอาการง่าย ๆ คือจะปวดตามข้อมือ หรือบริเวณเอว เมื่อรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น ไหล่งุ้ม หลังโก่ง วิธีป้องกันและยืดอายุกระดูก คือ รับประทานแคลเซียมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทานอาหารที่มีวิตามินดีสูง งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ เพราะสารคาเฟอีนในเครื่องดื่ม มีส่วนที่ทำให้กระดูกเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร การออกกำลังกายควบคุมน้ำหนักก็ช่วยให้กระดูกหรือข้อต่าง ๆ ไม่ต้องแบกรับน้ำหนักที่มากเกินไป

ซึ่งโรคเรื้อรังทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องพบเจอ ผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรงดี อายุยืนก็มีให้เห็นมากมาย ดังนั้นการเตรียมสุขภาพที่ดีให้กับร่างกายอยู่เสมอ คือสิ่งที่ควรทำ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*