Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าวเตือนเรื่องอาการหลงลืมเมื่ออายุมากขึ้น

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

การเปลี่ยนแปลงของสมองเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลต่อความทรงจำอย่างไร

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าวเตือน เมื่อมีอายุมากขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทและสมอง ดังนี้

1.เนื้อสมองมีการหดเล็กลง ส่งผลต่อการเรียนรู้และการใช้ความคิดที่ซับซ้อน
2.การส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทมีประสิทธิภาพลดลง
3.ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลง
4.การอักเสบและการขาดเลือดในบริเวณเล็กๆ ของเนื้อสมอง
5.การลดลงของสารเซโรโทนินและโดปามีน และการเพิ่มขึ้นของสารอนุมูลอิสระภายในสมอง
6.ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลต่อความจำในผู้สูงวัย แม้แต่ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง

สาเหตุของการสูญเสียความทรงจำ

-การใช้ยาต่างๆ เช่น ยากันชักบางประเภท ยาต้านซึมเศร้าและยานอนหลับบางประเภท
-การบาดเจ็บทางสมอง อาจทำให้มีการสูญเสียความทรงจำถาวรหรือค่อยๆ ดีขึ้นตามเวลาก็เป็นได้
โรคเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์
-การดื่มแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมาก
-การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือการนอนที่ไม่มีคุณภาพ -การหยุดหายใจขณะหลับ
-การขาดวิตามินบางชนิด เช่น B1 B12
-การได้ยาเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
-โรคหลอดเลือดสมองในเนื้อสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ
-โรคหรือเหตุการณ์ด้านจิตใจ
-โรคลมชัก
-โรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์
-การติดเชื้อภายในระบบประสาทและสมอง

ประเภทของการสูญเสียความจำ

การสูญเสียความจำมีได้หลายชนิด แต่ละชนิดมีสาเหตุและส่งผลต่อการใช้ชีวิตแตกต่างกันไป

-การสูญเสียความทรงจำระยะสั้น (Short term memory loss)
ผู้ที่มีการสูญเสียความทรงจำระยะสั้น จะลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือกิจกรรมที่เพิ่งทำ เช่น ลืมว่าวางสิ่งของไว้ที่ใด ลืมว่าเพิ่งอ่านหรือเห็นอะไร ลืมสิ่งที่ถามหรือทำไปแล้ว เช่น กินข้าว อาบน้ำ การสูญเสียความทรงจำระยะสั้น อาจเป็นกลไกปกติตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรงได้
-การสูญเสียความทรงจำระยะยาว (Long term memory loss)
ความทรงจำระยะยาวจะช่วยเรื่องการเก็บความทรงจำต่างๆ ความเข้าใจและความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ความทรงจำระยะยาวอาจค่อยๆ เสื่อมลงได้ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจต้องใช้เวลาในการนึก เรียนรู้หรือเข้าใจมากขึ้น หรืออาจทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกันได้ลำบากขึ้น แต่โดยปกติความรู้และทักษะต่างๆ มักจะคงที่
-การสูญเสียความจำประเภทการรู้สึกตัวแบบไม่รุนแรง (mild cognitive impairment)
ผู้สูงอายุบางคนมีปัญหาด้านความจำ แต่ไม่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน อาจมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ และเป็นบ่อยขึ้น เช่น ทำของหายบ่อยๆ ลืมนัดหรือกิจกรรมที่ต้องทำ การสูญเสียความจำประเภทนี้ อาจเป็นเรื่องปกติของอายุ หรือเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรงขึ้นได้

สัญญาณเตือนว่าถึงเวลาต้องปรึกษาแพทย์
เมื่ออายุมากขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงและมีความทรงจำที่แย่ลงได้ แต่หากมีอาการต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรง เช่น หลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์

-การมีปัญหากับการพูดและเขียนที่เป็นขึ้นมาในทันที
-สับสนเรื่องบุคคล เวลา และสถานที่ เช่น จำคนในครอบครัวไม่ได้ ไม่ทราบว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน หรือมาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร เป็นต้น
-มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์หรือพฤติกรรม เช่น สับสน ก้าวร้าว ซึมเศร้า วิตกกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมาก
-ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*