5 สารอาหารสำคัญเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ
วัยสูงอายุ คือช่วงวัยที่ต้องพบกับความเสี่ยงของการเสื่อมทางร่างกาย และการเพิ่มมากขึ้นของปัญหาสุขภาพ วัยสูงอายุในที่นี้หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว เนื่องจากในประเทศมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ
ดังนั้นวัยสูงอายุ คือช่วงวัยที่ต้องได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงวัยที่พบการเปลี่ยนแปลง เสื่อมถอยทางร่างกายมากมาย อีกทั้งผู้สูงอายุบางคนมีโรคประจำตัวติดตัวมาตั้งแต่อายุยังไม่มาก เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบการมองเห็น ฯลฯ นอกจากนี้ในวัยสูงอายุยังพบเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ การแสดงออก และอารมณ์ร่วมด้วย
ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับผู้สูงวัยที่สังเกตได้อย่างชัดเจนก็คือ นั่งลำบาก ทรงตัวไม่ดี หกล้มบ่อยๆ มีความเสี่ยงกับภาวะกระดูกหัก กระดูกเปราะบาง เหนื่อยง่าย เรี่ยวแรงไม่มี ตัวเล็กผอมบาง ซึ่งสิ่งที่แสดงออกมาเหล่านี้มาจากสาเหตุความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลง โดยที่ต้นตอแท้จริงแล้วก็คือ มาจากปัญหาการรับประทานอาหารได้น้อยลงนั่นเอง
5 สารอาหารสำคัญเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ
เวย์โปรตีนไอโซเลท (Whey Protein Isolate)
การเสริมสารอาหารจำเป็นประเภทโปรตีนให้กับผู้สูงอายุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบของเวย์โปรตีน เพราะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผู้สูงวัยได้ดี ไม่มีปัญหาท้องอืดท้องเฟ้อ และเวย์โปรตีนบางยี่ห้อก็ไม่มีเคซีน แลคโตส จึงไม่มีปัญหาสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาแพ้นมวัว หรือเคยมีอาการท้องเสียจากการดื่มนมวัว ซึ่งการที่ผู้สูงอายุมีโปรตีนในร่างกายอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยฟื้นจากอาการเจ็บป่วยได้เร็ว และโปรตีนยังช่วยซ่อแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายได้ทุกระบบอีกด้วย
วิตามิน D3 (Vitamin D3)
ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า “ผู้สูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์วิตามิน D จากแสงแดดจะลดลงต่ำกว่า 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับคนอายุ 20 ปี ดังนั้นผู้สูงอายุควรต้องรับประทานวิตามินชนิดนี้ในรูปแบบอาหารเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มวิตามินดีให้กับร่างกาย” (ขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต)
วิตามิน D3 มีประโยชน์มากมายต่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะการป้องกันการหกล้ม เพราะช่วยในการยืดและหดของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่รับประทานวิตามิน D3 ปริมาณสูงจะลดโอกาสการลื่นล้มได้ 22% และลดการแตกหักของกระดูกสะโพกได้ 30% และกระดูกบริเวณอื่นๆ ได้ 14%
ไม่เพียงเท่านั้นวิตามิน D3 ยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน สามารถช่วยเพิ่มแคลเซียม และช่วยลดการเสื่อสลายของแคลเซียมในร่างกายได้ด้วย นอกจากนี้ยังส่วนส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิต้านทาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย และความดันโลหิตได้ด้วย
วิตามินซี (Vitamin C)
เป็นวิตามินพื้นฐานที่สำคัญมากต่อร่างกายผู้สูงอายุ แต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ต้องได้รับจากอาหารในธรรมชาติเท่านั้น เช่น ผักและผลไม้เท่านั้น เป็นวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายโดยไปช่วยเสริมความแข็งแรงของเม็ดเลือดขาว ทำให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย
แต่ผู้สูงอายุหลายคนนอกจากมีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหารไม่สะดวกในการรับประทานอาหารจากธรรมชาติแล้ว ยังมีปัญหาการกลืนเม็ดยายาก จึงทำให้ในปัจจุบันวิตามินซีแบบผงชมดื่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ผู้สูงอายุหลายคนเลือกรับประทานในรูปแบบนี้กันมากขึ้น เพราะสะดวกสามารถผสมกับน้ำเปล่า หรือน้ำผลไม้ดื่มได้ทันที ที่สำคัญไม่มีความเป็นกรด และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทันที
แร่ธาตุสังกะสี (Zinc)
ผลวิจัยของ Oregon State University ระบุว่า “เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสที่ร่างกายจะขาดแร่ธาตุสังกะสีก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของระบบภูมิคุ้มกันและปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุมากมาย” สำหรับผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีสารอาหารประเภทนี้ในร่างกายอย่างเพียงพอ โดยแร่ธาตุสังกะสีจะมีส่วนช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงกระตุ้นและเสริมสร้างการทำงานของเม็ดเลือดขาว (T- Cell) ให้มีความแข็งแรงและมีความสามารถต่อการปกป้องร่างกายให้พร้อมต่อสู้กับเชื้อโรค และมีการเคลื่อนไหวในการกำจัดเชื้อโรคได้เร็วขึ้น เพื่อช่วยยับยั้งเชื้อไวรัส และสิ่งแปลกปลอมไม่ให้ทำอันตรายต่อร่างกายได้
Co Q10 หรือโคเอนไซม์ คิวเทน
โคเอนไซม์ คิวเทน (CoQ10) ถือเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย พบมากในเซลล์หรืออวัยวะที่ใช้พลังงานมาก เช่น หัวใจ ไต ปอด และตับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า สารอาหารชนิดนี้จะลดลงสวนทางกับอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุเสี่ยงที่จะมีโคเอนไซม์คิวเทนในร่างกายมีไม่เพียงพอ
โดยประโยชน์ที่ผู้สูงอายุจะได้รับจากโคเอนไซม์ คิวเทนก็คือ สามารถช่วยคงความสมดุลของโคเอนไซม์คิวเทน (Co Q10) ในอวัยวะสำคัญต่างๆ ให้ร่างกายสมบูรณ์ และ ช่วยป้องกันบรรเทาโรค รวมถึงอาการต่างๆ ที่พบมากในผู้สูงอายุเช่น โรคหัวใจ โรความผิดปกติทางสมอง (อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน) โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งลดการเกิดผลข้างเคียงในผู้สูงอายุที่รับประทานยาลดไขมันคอลเลสเตอรอลในกลุ่มสแตติน