Every day

7:00 - 18:00

Call us

0970405069 , 0956416356

ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ

รู้ทันป้องกัน

"โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ"

การดูแลสุขภาพก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

“โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน” เป็นโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองจาก “โรคมะเร็ง” โดยในแต่ละปี อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดของคนไทยมีมากกว่า 37,000 ราย หรือเสียชีวิตเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน เลยทีเดียว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรอง เพราะการพบความเสี่ยงหรือรอยโรคในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้เราป้องกันการเกิดโรค หรือป้องกันการลุกลาม และรักษาได้อย่างทันท่วงที

โรคหลอดเลือดหัวใจคืออะไร?

โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน เกิดจากการสะสมของไขมันและแคลเซียมในผนังหลอดเลือด เมื่อสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ หลอดเลือดจะมีความเปราะ บาง แข็ง ไม่ยืดหยุ่น ที่สำคัญคือหลอดเลือดจะเกิดการตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หัวใจจึงได้รับออกซิเจนน้อยลง ต่อเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งหลายรายไม่เคยมีอาการเตือน จึงไม่รู้ตัวว่ากำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ปริมาณไขมันในหลอดเลือด เช่น คอเลสเตอรอล (Cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สูง ไขมันเลว (LDL) สูง แต่ไขมันดี (HDL) ต่ำ
  • มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง
  • อายุ โดยผู้ชายอายุ 45 ปี และผู้หญิงอายุ 50 ปี ขึ้นไป จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • เจ็บแน่นหน้าอก หรือปวดเค้นที่หน้าอกด้านซ้ายบริเวณหัวใจ อาจร้าวไปที่แขน ไหล่ซ้าย ข้อศอก ขากรรไกรร่วมด้วย
  • เหนื่อยง่ายขณะออกแรง
  • หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือโรคหัวใจเรื้อรัง
  • ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
  • หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น

การตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ หรือ CT Calcium Scoring คืออะไร?

เราสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน ด้วยการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT CALCIUM SCORE) ซึ่งก็คือ การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วและความละเอียดสูง (CT SCAN) มาตรวจหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง และดูคุณภาพการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งค่าที่ได้จะช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดห้วใจตีบได้ โดยพิจารณาจากประวัติสุขภาพ และค่า calcium score ดังนี้

  • หาก calcium score = 0-400 หมายถึง มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระดับต่ำถึงปานกลาง
  • หาก calcium score > 400 หมายถึง มีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภายในระยะเวลา 2-5 ปี แม้ขณะนี้จะยังไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อจะได้ทำการแนะนำให้ทำการปรับพฤติกรรม นัดหมายเพื่อตรวจติดตาม หรือทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วแต่กรณี

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT CALCIUM SCORE)

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่มีภาวะเครียด
  • ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

อย่างไรก็ตาม หากต้องการเข้ารับการ “ตรวจแคลเซียม” หรือปริมาณ “หินปูนในหลอดเลือดหัวใจ” บุคคลทั่วไปสามารถเข้ารับการตรวจได้ทันที แต่สำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะจะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม

#ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*